สำนักราชบัณฑิตยสภา

225 ชิ นภั ทร ภูมิ รั ตน วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ เรียกร้องให้นานาประเทศในโลก ร่วมมือกันสร้างสังคมโลกที่เป็นธรรมและมีสันติภาพถาวร โดยได้เสนอค่า นิยมสังคมโลกที่พึงให้เกิดขึ้น ๖ ประการ ได้แก่สังคมที่ผู้คนมีเสรีภาพในชีวิต ปราศจากความหิวโหยและ ความกลัว มีรัฐบาลประชาธิปไตย รัฐบาลที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความเสมอ ภาค มีความเป็นปึกแผ่น คนที่มีโอกาสมากที่สุดต้องช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาส สังคมที่มีความอดทน อด กลั้นต่อความแตกต่างหลากหลาย เคารพต่อธรรมชาติ และมีความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของโลก และป้องกันการคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (๒) ประเทศ ส่วนใหญ่และรัฐบาลไทยก็ได้ลงนามรับรองค� ำประกาศแห่งสหัสวรรษนี้ คน และ/หรือ มนุษย์ อาจเป็นได้ทั้งผู้สร้าง ผู้ตกแต่งให้สังคมงดงามน่าอยู่ หรือในทางตรงกัน ข้าม คนก็อาจเป็นผู้ผลิตผลงานด้านลบให้แก่สังคมได้เช่นเดียวกัน คนไทยในปัจจุบัน อยากให้เด็ก ๆ ลูก หลานในอนาคตอยู่ในสังคมแบบใด และในฐานะผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เกิดมาก่อน ควรจะวางรากฐานที่ดีและท� ำ อย่างไรให้แก่ลูกหลานและประเทศไทยในอนาคต หรือจะให้เป็นอย่างปัจจุบัน : คุณภาพของเยาวชนไทย ? มีข้อมูลทางการศึกษาที่น่าตกใจอย่างหนึ่ง คือ ผลการประเมินคุณภาพของเยาวชนไทยปัจจุบัน (ซึ่ง ก็คือผู้ดูแลสร้างสรรค์สังคมในอนาคต) โดยองค์กรระดับชาติชื่อ Organization for Economic Co- Operation and Development (OECD) ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดสอบวัดคุณภาพของเยาวชนไทยช่วงอายุ ๑๕ ปี เพื่อดูว่าเยาวชนช่วงจบการศึกษาภาคบังคับ จะมีศักยภาพในการใช้ความรู้และทักษะที่เรียนมาในชีวิตจริงได้ดีเพียงใด (PISA) โดยวัดจากความสามารถ ในการอ่าน (literacy ทางภาษา) ความสามารถทางคณิตศาสตร์ และ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ของ นักเรียนทั่วประเทศ คะแนนที่ได้จัดอยู่ใน ๖ ระดับ ตามความสามารถตั้งแต่ระดับต�่ ำหรือระดับพื้นฐาน (คือ ระดับ ๑) จนถึงระดับสูง (คือระดับ ๖) ผลการประเมินทักษะการอ่าน พบว่า นักเรียนไทยร้อยละ ๔๓ มีความสามารถในระดับ ๑ (คืออ่านออกแต่จับใจความไม่เป็น), ร้อยละ ๓๗ มีทักษะการอ่านในระดับ ๒ (คืออ่านออกและจับใจความ ได้ก็ต่อเมื่อเนื้อหานั้นค่อนข้างตรงไปตรงมา), ร้อยละ ๒๐ มีผลการอ่านสูงกว่าระดับ ๒ โดยในจ� ำนวนนี้ มีร้อยละ ๐.๓ สอบได้ในระดับ ๕ (คือสามารถเข้าใจข้อเขียนที่ยากและซับซ้อน วิเคราะห์และประเมิน เนื้อหาเป็น สามารถสร้างสมมุติฐานจากสิ่งที่อ่าน และดึงเอาความรู้สาระในนั้นมาสร้างเป็นแนวคิดของ ตนได้) และนักเรียนที่มีความสามารถในระดับ ๖ มีเพียงร้อยละ ๐.๐๓ ผลการประเมินการอ่าน ลดต�่ ำลง กว่าที่ได้ประเมินครั้งแรก (PISA) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ และผู้จัดประเมินได้สรุปในภาพรวมว่า ความสามารถ ของเยาวชนไทยในทักษะการอ่าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพื้นฐานและต�่ ำกว่าพื้นฐาน เทียบกับประเทศอื่น ๆ คืออยู่อันดับที่ ๔๗-๕๑ จาก ๖๕ ประเทศ และมีเพียงอินโดนีเซียประเทศเดียวในย่านเอเชียที่ได้คะแนน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=