สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 นวัตกรรมทางการศึกษาและสหวิทยาการ กับการพัฒนาประเทศ ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สังคมไทยจะเป็นอย่างไรในอนาคต ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นห้วงเวลาที่เทคโนโลยีและเครือข่ายสื่อสารไร้สายก้าวหน้าอย่างยิ่ง ข่าวสาร ข้อมูลและการโฆษณาชวนเชื่อเชื่อมต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยก็อยู่ในกระแสของความก้าวหน้า นี้ด้วย กว่าสิบปีมานี้ สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลาย ๆ ด้าน และดูเหมือนว่าก� ำลัง เผชิญกับภาวะความสับสน อ่อนแอเช่นกัน คงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์อันไม่พึงปรารถนา บรรยากาศ ที่หดหู่ และแรงเฉื่อยในการพัฒนาประเทศ เพราะหลายประเทศได้ก้าวล�้ ำหน้าประเทศไทยไปไกลแล้ว แม้เราไม่สามารถมองเห็นอนาคต แต่ก็อาจคาดการณ์บางสิ่งบางอย่างได้จากสภาพการณ์ในปัจจุบัน ไม่นานมานี้ สถาบันคลังสมองของชาติร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีเอเปค และ ส� ำนักงานคณะกรรมการนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้จัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดและ ข้อเสนอของคนไทยทุกอาชีพ เพศวัย แล้วรวบรวมสังเคราะห์จัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ “ภาพอนาคตประเทศไทย ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า” มุ่งหมายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้คนในสังคมหันมามองอนาคตของประเทศไทยร่วมกัน และ ช่วยกันหาจุดต่างและจุดร่วม ส� ำหรับการเตรียมก้าวเดินไปสู่ถนนสายอนาคต ที่ทุกคนในสังคมสร้างสรรค์ร่วม กันได้ (๑) จากการระดมความคิดดังกล่าว ได้สร้างเป็นภาพอนาคตของสังคมไทยหลายรูปแบบ แล้วสังเคราะห์ ออกเป็น ๓ แบบคร่าว ๆ คือ แบบ “เกาเหลาไม่งอก แบบน�้ ำพริกปลาทู หรือแบบต้มย� ำกุ้งน�้ ำโขง” และสรุป ว่า สังคมที่อาจเกิดในอนาคตอาจเป็นแบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบปะปนกัน ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของคน ไทยปัจจุบันและรวมถึงการปลูกฝังเด็กและเยาวชนซึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ค� ำประกาศสังคมที่ดีงามเป็นอย่างไร เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. ๒๐๐๐ องค์การสหประชาชาติซึ่งมีบทบาทคล้ายเป็นสภาผู้น� ำนานาชาติ ของประเทศในโลก ได้ลงนามในค� ำประกาศแห่งสหัสวรรษ (United Nations Millennium Declaration)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=