สำนักราชบัณฑิตยสภา
221 ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ คู่ขนานไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีจุดตัดผ่าน จุดตัดผ่านทางรถไฟจะท� ำให้การเดินทางโดยรถยนต์ไม่ต้องอ้อมไป ไกลซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและเวลา อย่างไรก็ตาม พบว่ามีอุบัติเหตุเกิดบริเวณจุดตัดทางรถไฟอยู่ บ่อยครั้ง ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดจากจุดตัดทางรถไฟนั้นมี ๒ ประการคือ ประการแรก อุบัติเหตุเกิดขึ้นเนื่องจาก ทัศนวิสัยและสภาพแวดล้อม ตลอดจนความบกพร่องของอุปกรณ์ที่ไม่ดีบริเวณจุดตัดทางรถไฟ ประการที่ ๒ อุบัติเหตุเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ ความคะนอง และการไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ดังนั้น การลดอุบัติเหตุในเรื่องดังกล่าวอาจท� ำได้โดยการใช้หลักการทางด้านวิศวกรรมในการ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและทัศนวิสัยบริเวณจุดตัดทางรถไฟ โดยการติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องหมายหรือ การก่อสร้างทางตัดผ่านต่างระดับ (ซึ่งต้องใช้เงินจ� ำนวนมาก มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและความเป็น อยู่ของประชาชนสองข้างทาง) ส่วนทางแก้ไขในประการที่ ๒ นั้น ท� ำได้โดยการควบคุมผู้ขับขี่ยานพาหนะ การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะเกี่ยวกับสาเหตุและความร้ายแรงของอันตรายที่อาจจะเกิด ขึ้น ส่งเสริมวินัยจราจร ปิดจุดลักผ่านหรือการปิดจุดตัดทางรถไฟบางแห่งที่ไม่จ� ำเป็น การปิดกั้นจุดตัดทาง รถไฟเพื่อให้รถไฟผ่านควรใช้เวลาที่น้อยที่สุดเพื่อให้ผู้ขับขี่มีความอดทนและไม่อยากฝ่าฝืนเครื่องกั้น ส่วนใน การจัดท� ำจุดตัดผ่านทางรถไฟในแต่ละจุดจะต้องมีการส� ำรวจและวางแผนถึงพื้นที่และความจ� ำเป็นที่ต้องจัด ให้มีจุดตัดทางรถไฟ โดยต้องจัดให้มีเพียงพอตามความจ� ำเป็นแต่ไม่ใช่ท� ำจุดตัดทางรถไฟโดยถือเอาแต่ความ สะดวกของทางรถยนต์เพียงอย่างเดียว ทางลักลอบตัดผ่านซึ่งหากไม่มีความจ� ำเป็นก็สมควรที่จะด� ำเนิน การปิดทางดังกล่าวโดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยและหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่นด� ำเนินการ ปิดกั้นและเจรจากับผู้ลักลอบกระท� ำการเช่นนั้น เพราะเป็นเรื่องที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อความปลอดภัย ของประชาชน เมื่อสถานที่ใดถูกก� ำหนดให้เป็นจุดตัดทางรถไฟ ทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยและหน่วย งานราชการบริหารส่วนท้องถิ่นจะต้องร่วมมือกันจัดท� ำโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนการจัดท� ำสัญญาณเตือน แก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะให้ได้ครบถ้วนและให้ได้มาตรฐาน ควรจัดท� ำทางลอดหรือทางต่างระดับในจุดตัดทาง รถไฟที่ส� ำคัญ ๆ ให้ครบเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุและปัญหาจราจร หากงบประมาณในการจัดท� ำไม่เพียงพอ หน่วยงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องต้องร้องขอให้รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณมาให้เพิ่มเติม และรัฐบาลควร ให้ความส� ำคัญแก่ปัญหาในเรื่องนี้เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัยของประชาชน นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ น่าพิจารณาต่อมาอีกว่า เพราะเหตุใดจึงไม่มีการด� ำเนินการจัดการกับปัญหาจุดตัดทางรถไฟดังกล่าวโดย การสร้างทางต่างระดับหรือการขุดเจาะอุโมงค์ลอดทางรถไฟ ดังเช่นที่ได้มีการจัดท� ำในบางแห่งบางพื้นที่ ในประเทศไทยหรือที่มักจะมีการจัดท� ำกันในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทยควรจัดให้มีการจัดท� ำทะเบียนประวัติของจุดตัดรถไฟต่าง ๆ เพื่อใช้ ในการบริหารความปลอดภัย และใช้ในการจัดล� ำดับความส� ำคัญของจุดตัดรถไฟเพื่อปรับปรุงให้เกิดความ ปลอดภัยยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ อีก ทั้งเมื่อมีการบันทึกข้อมูลในการสอบสวนอุบัติเหตุหรือการสอบถามจะท� ำให้ทราบถึงปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=