สำนักราชบัณฑิตยสภา

219 ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ต� ำรวจควรเน้นการประชาสัมพันธ์ให้เกิดความตระหนักถึงอันตราย และความสูญเสียเมื่อเกิดเหตุรถไฟชนกับรถยนต์บริเวณจุดตัดทางรถไฟแก่ประชาชนผู้ใช้ทางควบคู่ไปกับ การบังคับใช้กฎหมาย โดยท� ำการประชาสัมพันธ์ทั้งก่อนเริ่มมาตรการจับกุมและในระหว่างที่มีมาตรการ จับกุมอันจะช่วยสร้างความเข้าใจและได้รับความร่วมมือกับผู้ขับขี่ยานพาหนะดีกว่าการบังคับใช้กฎหมาย เพียงอย่างเดียว ตลอดจนควรมีความร่วมมือจากหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สนับสนุนงบ ประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ก่อนด� ำเนินมาตรการจับกุม ๓.๒ การตรวจจับผู้ฝ่าฝืนบริเวณจุดตัดทางรถไฟด้วยการการติดตั้งกล้อง CCTV นอกจากการจัดเจ้าหน้าที่ต� ำรวจให้ประจ� ำอยู่ที่บริเวณจุดตัดทางรถไฟดังที่กล่าวมาแล้ว อาจมี การติดตั้งกล้อง CCTV ในบริเวณดังกล่าวด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการตรวจจับผู้กระท� ำความ ผิด และเป็นมาตรการอีกทางหนึ่งในการยับยั้งการกระท� ำผิด เนื่องจากเมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะพบว่าบริเวณ ดังกล่าวมีกล้อง CCTV ตรวจจับอยู่ก็อาจไม่กล้ากระท� ำการฝ่าฝืนกฎหมาย การติดตั้งกล้องดังกล่าวเหมาะ สมส� ำหรับการตรวจจับในเขตเมืองที่ปริมาณการจราจรข้ามจุดตัดทางรถไฟสูง หรือจุดตัดทางรถไฟที่เกิด อุบัติเหตุบ่อยครั้ง เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ต� ำรวจกรณีที่มีก� ำลังต� ำรวจไม่เพียงพอที่จะดูแลได้อย่างทั่วถึง ๓.๓ ข้อปฏิบัติต่อพนักงานขับรถไฟหลังเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟ นอกจากจะท� ำให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน แล้ว ยังท� ำให้เกิดความล่าช้าในการสัญจรไปมา ทั้งในส่วนของการจราจรบนถนนที่ต้องผ่านจุดตัดทาง รถไฟ และในส่วนของรถไฟซึ่งรวมถึงผู้โดยสารและสินค้าในขบวนดังกล่าว และในขบวนอื่น ๆ ที่ต้องล่าช้า ไปด้วย เนื่องจากไม่สามารถเดินรถผ่านบริเวณที่เกิดเหตุได้ การฟื้นฟูสภาพทาง การซ่อมหัวรถจักรเพื่อให้ เดินรถต่อไปได้อย่างรวดเร็วเป็นหน้าที่โดยตรงของการรถไฟแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ดี ประเด็นปัญหา อีกประการหนึ่งคือ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถไฟและรถยนต์ชนกันและมีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ พนักงาน เจ้าหน้าที่หรือต� ำรวจมีอ� ำนาจควบคุมตัวพนักงานขับรถไฟได้หรือไม่เพียงใด เนื่องจากประเด็นนี้อาจท� ำให้ การเดินรถไฟขบวนดังกล่าวมีความล่าช้าออกไปอีกได้ ในเรื่องนี้ต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติจัดวาง การรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและหลักเกณฑ์ ในเรื่องนี้ของส� ำนักงานต� ำรวจแห่งชาติและส� ำนักงานอัยการสูงสุด ในกฎหมายฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ บัญญัติห้ามมิให้จับกุมพนักงานซึ่งก� ำลังท� ำการของรถไฟอยู่ตามหน้าที่อันเกี่ยวกับการเดินรถโดยตรง (ซึ่ง ถ้าไม่มีพนักงานผู้นั้นก� ำกับการอยู่แล้วอาจเกิดภยันตรายแก่ประชาชน) เว้นไว้แต่จะได้แจ้งความให้หัวหน้า ของพนักงานผู้นั้นทราบก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงให้จับกุมผู้นั้นได้ (มาตรา ๙๒) ซึ่งหมายความว่าใน เบื้องต้นต� ำรวจจะจับกุมพนักงานขับรถไฟทันทีไม่ได้ เพราะหากไม่มีพนักงานขับรถไฟก็จะเป็นอันตรายต่อ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=