สำนักราชบัณฑิตยสภา

217 ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ถนนส� ำคัญเสมอระดับ ให้วางรางคู่ก� ำกับเพื่อให้มีช่องพอครีบล้อรถผ่านไปมาได้ กับให้ท� ำประตู หรือขึงโซ่ หรือท� ำราวกั้นขวางถนน หรือทางนั้น ๆ ตามสมควรแก่การ” ก็ตาม แต่มาตรา ๗๓ ซึ่งเป็นบทบัญญัติถัดไป ก็ได้ก� ำหนดต่อไปว่า “เมื่อถนนที่ต้องผ่านข้ามไปนั้นไม่สู้ส� ำคัญพอถึงกับต้องท� ำประตูกั้นแล้ว ให้พนักงาน ขับรถจักรเปิดหวีดก่อนที่รถจะผ่านข้ามถนนนั้นกับให้ท� ำเครื่องหมายสัญญาณอย่างถาวรปักไว้ให้แจ้งบน ทางและถนนนั้นเพื่อให้พนักงานขับรถจักรและประชาชนรู้ตัวก่อนภายในเวลาอันสมควรว่าเข้ามาใกล้ทาง รถไฟที่ผ่านข้ามถนน” จากบทบัญญัติข้างต้นจึงเป็นการแสดงว่า กฎหมายให้อ� ำนาจโจทก์เป็นผู้พิจารณาว่า ถนนที่ตัดกันกับทางรถไฟนั้นเป็นถนนสายที่มีความส� ำคัญหรือไม่ ถ้าเป็นถนนที่เป็นทางส� ำคัญ ก็ให้ปฏิบัติ ตามมาตรา ๗๒ แต่ถ้าเป็นทางที่ไม่ส� ำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๗๓ หาได้บังคับให้โจทก์จ� ำต้องท� ำประตู หรือขึงโซ่ หรือท� ำราวกั้นขวางถนนบรรดาที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกแห่งไม่ ซึ่งจากข้อเท็จจริงนั้นถนนที่ตัด ผ่านทางรถไฟที่เกิดเหตุเป็นถนนสุขาภิบาลห้วยราช อยู่ห่างจากสถานีรถไฟห้วยราชประมาณ ๘๐๐ เมตร และอยู่ในท้องที่กิ่งอ� ำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งไม่ได้เป็นท้องที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นหรือ มีการจราจรคับคั่ง ดังนั้น ถนนที่เกิดเหตุจึงไม่ใช่ถนนส� ำคัญอันโจทก์มีหน้าที่จะต้องท� ำประตู หรือขึงโซ่ หรือท� ำราวกั้นขวางถนนตามที่กฎหมายบังคับไว้ และพนักงานขับรถไฟของโจทก์ได้เปิดหวีดเตือนพร้อม ปิดคันบังคับการและลดความเร็วลงตามระเบียบแล้ว อีกทั้งในบริเวณที่เกิดเหตุก็ได้ติดตั้งสัญญาณจราจร ระวังรถไฟและสัญญาณจราจรหยุดไว้ที่ข้างถนนเพื่อให้ประชาชนรู้ตัวก่อนภายในเวลาอันสมควรว่าเข้ามา ใกล้ทางรถไฟที่ผ่านข้ามถนนแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อก� ำหนดในมาตรา ๗๓ แล้ว ด้วยเหตุ นี้จึงฟังไม่ได้ว่าเหตุรถชนกันเกิดเพราะความประมาทของโจทก์ หากแต่เป็นความประมาทเลินเล่อของฝ่าย จ� ำเลย ท� ำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ฝ่ายจ� ำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จะเห็นได้ว่าในค� ำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จ� ำเลยที่ขับรถยนต์โดยสารชนิด ประจ� ำทางสองแถวต้องรับผิดชอบเนื่องจากจ� ำเลยประมาทเลินเล่อ เมื่อเปรียบเทียบกับค� ำพิพากษาศาล ฎีกาอีกฉบับหนึ่ง คือ ค� ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๘๑๐-๒๘๑๑/๒๕๔๕ ในคดีนี้ศาลฎีกาพิพากษาว่า การ รถไฟแห่งประเทศไทย (จ� ำเลยที่ ๒) ต้องรับผิดในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของการรถไฟ แห่งประเทศไทยเป็นฝ่ายผิด โดยในคดีนี้มีข้อเท็จจริงว่า จ� ำเลยที่ ๑ ซึ่งมีหน้าที่น� ำแผงเครื่องกั้นรถไฟลง เมื่อรถไฟแล่นผ่าน ในขณะเกิดเหตุเมื่อรถไฟแล่นมาถึง จ� ำเลยที่ ๑ ไม่ได้น� ำแผงกั้นรถไฟลงแต่อย่างใด เมื่อ รถยนต์ที่ผู้ตายขับแล่นผ่านไป จึงเป็นเหตุให้ถูกรถไฟชน การกระท� ำของจ� ำเลยที่ ๑ จึงเป็นการกระท� ำที่ ประมาทเลินเล่อ ส่วนการกระท� ำของผู้ตายนั้น เห็นว่า โดยปรกติแล้วผู้ขับรถยนต์ทั่วไปเมื่อผ่านบริเวณ รางรถไฟ หากไม่มีแผงเครื่องกั้นรถไฟปิดกั้นและปรากฏสัญญาณไฟและเสียงสัญญาณเตือนแล้วก็จะขับ รถยนต์ผ่านไปตามปรกติ หากมีการน� ำแผงเครื่องกั้นรถไฟลง รถยนต์ที่ผ่านมาก็จะหยุดให้รถไฟผ่านไปก่อน ส� ำหรับกรณีที่เกิดขึ้นนี้หากจ� ำเลยที่ ๑ น� ำแผงเครื่องกั้นรถไฟลงจริง ผู้ตายคงไม่ขับรถผ่านไปและเหตุก็จะ ไม่เกิดขึ้น เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพที่เกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนมีป้อมส� ำหรับพนักงานรถไฟและต้นไม้บังอยู่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=