สำนักราชบัณฑิตยสภา

จุดตั ดทางรถไฟ 216 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ที่ ๒ รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางมาด� ำเนินการจัดท� ำเรื่องดังกล่าว เนื่องจากเป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้ทางและเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ประกอบกับการ รถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีงบประมาณในการแก้ไข ปรับปรุง หรือสร้างจุดตัดทางรถไฟเพิ่มเติมเนื่องจาก มียอดขาดทุนสะสม เป็นจ� ำนวนมากกว่า ๖๘,๖๔๘ ล้านบาทแล้ว (ยอดสะสม ณ พ.ศ. ๒๕๕๔) ๘ จึงควรจะ ต้องมีงบประมาณจากรัฐบาลโดยเฉพาะมาสนับสนุนในเรื่องการจัดท� ำจุดตัดทางรถไฟนี้แทน ๒. ความรับผิดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นระหว่างยานพาหนะซึ่งโดยปรกติจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถ ที่ประยุกต์มาจากรถที่ใช้ในการเกษตร เช่น รถอีแต๋น คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้น การ รถไฟแห่งประเทศไทยไม่ต้องรับผิด เนื่องจากอุบัติเหตุได้เกิดขึ้นในเขตของรถไฟและเป็นความผิดของผู้ ขับขี่ยานพาหนะที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการแล่นผ่านจุดตัดทางรถไฟ เพราะรถไฟวิ่งมา ด้วยความเร็วและขบวนรถไฟมีน�้ ำหนักท� ำให้รถไฟไม่สามารถหยุดได้ในช่วงระยะทางใกล้ ๆ ท� ำให้มีปัญหา น่าคิดว่าผลดังกล่าวเป็นเช่นนั้นจริงเสมอไปหรือไม่ ในความเป็นจริง เมื่อเกิดเหตุรถไฟชนกับรถยนต์แล้ว และมีการน� ำคดีมาฟ้องร้องศาล แนวค� ำ พิพากษาศาลฎีกาที่นักกฎหมายยอมรับว่าเป็นบรรทัดฐานในระดับหนึ่งนั้น กลับไม่ได้มีความเห็นเช่นนั้น ศาลฎีกาวางหลักว่า จะต้องพิจารณาว่าในระหว่างรถไฟกับรถยนต์ ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายผิด กล่าวคือ ฝ่าย ใดประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดการชนกันและเกิดความเสียหายขึ้น โดยจะใช้หลักเกณฑ์เรื่องความรับผิด ทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ ดังปรากฏในค� ำพิพากษาศาลฎีกา เช่น ค� ำ พิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๔๐/๒๕๔๑ โดยคดีนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นโจทก์ ได้อ้างว่าจ� ำเลยขับ รถยนต์โดยสารประจ� ำทางมาด้วยความเร็วสูง ปราศจากความระมัดระวัง ไม่ลดความเร็วลงเมื่อเห็นป้าย สัญญาณระวังรถไฟ และไม่หยุดรถก่อนถึงทางรถไฟไม่น้อยกว่า ๕ เมตร แต่กลับขับรถข้ามทางรถไฟใน ขณะที่รถไฟของโจทก์ได้แล่นมาถึงจุดตัดทางรถไฟดังกล่าว พนักงานของโจทก์ไม่สามารถบังคับรถไฟให้ หยุดได้ทันจึงเกิดการชนกันและเกิดความเสียหายขึ้น ส่วนทางด้านจ� ำเลยนั้นอ้างว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาท เพราะไม่จัดให้มีป้ายสัญญาณจราจร แผงกั้นทาง และพนักงานควบคุมบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งมีการจราจร ที่คับคั่งอยู่แล้ว ประกอบกับมีวัชพืชขึ้นบังการมองเห็นจึงไม่สามารถเห็นรถไฟดังกล่าวได้ อีกทั้งพนักงาน รถไฟนั้นยังขับมาด้วยความเร็วสูง อุบัติเหตุที่เกิดจึงไม่ใช่ความประมาทของฝ่ายจ� ำเลย ศาลฎีกาได้วินิจฉัย คดีนี้โดยอ้างถึงบทบัญญัติ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ โดยศาลฎีกาได้อธิบายว่า แม้ว่ามาตรา ๗๒ บัญญัติว่า “เมื่อทางรถไฟผ่านข้าม ๘ ที่มา : http://www.sepo.go.th/state-enterprise-review-ser/state-enterprise-review-ser.htm

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=