สำนักราชบัณฑิตยสภา

215 ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ กล่าวจะต้องท� ำเช่นใดและบุคคลใดจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในเรื่องนี้สมควรที่จะให้มีการแก้ไขกฎหมาย ฉบับนี้ให้ชัดเจนดังนี้ (๑) ก� ำหนดให้ผู้ที่จะท� ำจุดตัดทางรถไฟต้องขออนุญาตต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ว่าผู้ที่จะ ด� ำเนินการนั้นจะเป็นบุคคลอื่นหรือส่วนราชการระดับใดก็ตาม โดยการด� ำเนินการต้องเป็นไปตามรูปแบบ และเงื่อนไขที่การรถไฟแห่งประเทศไทยก� ำหนด และผู้ขอต้องรับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด (๒) ในกรณีที่ผู้ใดลักลอบท� ำจุดตัดทางรถไฟไว้ก่อนแล้ว หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นว่ามี ความเหมาะสมในการมีจุดตัดทางรถไฟบริเวณดังกล่าว ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอ� ำนาจที่จะขอให้ผู้ กระท� ำหรือผู้ที่รับผิดชอบในการดูแลถนนที่ตัดผ่านมาขออนุญาตท� ำทางตัดผ่าน โดยให้ปรับปรุงทางตัดผ่าน ให้มีมาตรฐานตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยก� ำหนดด้วยค่าใช้จ่ายของบุคคลดังกล่าว (๓) ในกรณีที่ผู้ใดลักลอบท� ำจุดตัดทางรถไฟไว้ก่อนแล้ว หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็น ว่า บริเวณดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมในการมีจุดตัดทางรถไฟ ควรก� ำหนดให้อ� ำนาจแก่การรถไฟแห่ง ประเทศไทย ที่จะขอให้ผู้กระท� ำหรือผู้ที่รับผิดชอบในการดูแลถนนที่ตัดผ่าน รื้อถอนทางตัดผ่านด้วยค่าใช้ จ่ายของบุคคลดังกล่าว หากไม่มีการกระท� ำการภายในระยะเวลาที่สมควร ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมี อ� ำนาจที่จะรื้อถอนทางได้โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายอย่างใด ๆ และสามารถเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ ถึงแม้จะมีความตกลงร่วมมือกันระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงมหาดไทยแล้วก็ตาม ยัง มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอีกว่า หลักเกณฑ์ของความตกลงร่วมมือดังกล่าวผูกพันองค์การบริหารส่วนต� ำบล ต่าง ๆ ๗ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ท� ำทางตัดผ่านหรือไม่ ในเรื่องนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวผูกพันองค์การบริหารส่วนต� ำบล ต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เป็นความตกลงระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ก� ำกับดูแลองค์การบริหารส่วนต� ำบลต่าง ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อโต้แย้งว่า ความตกลงความร่วมมือนี้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีองค์การบริหารส่วนต� ำบล ในสมัยก่อนหน้านั้นมีหน่วยงานที่รับ ผิดชอบในการจัดท� ำถนน เช่น ส� ำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท สังกัดกระทรวงมหาดไทย และความตกลงที่ กระทรวงมหาดไทยท� ำนั้นมีลักษณะหลวม ๆ กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ในการก� ำกับดูแลองค์การบริหาร ส่วนต� ำบลเท่านั้น ไม่ได้มีอ� ำนาจกระท� ำการแทน ดังนั้น ความตกลงดังกล่าวไม่น่าจะมีผลผูกพันองค์การ บริหารส่วนต� ำบล ทางแก้ปัญหาในเรื่องนี้อาจท� ำได้ดังนี้คือ ประการแรก บรรดาทางตัดผ่านทั้งหลายที่ ด� ำเนินการไปแล้ว กระทรวงมหาดไทยต้องเข้ามารับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ประการ ๗ พระราชบัญญัติสภาต� ำบลและองค์การบริหารส่วนต� ำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๔๐ สภาต� ำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุน ในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต�่ ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท หรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยในวรรคสอง อาจจัดตั้ง เป็นองค์การบริหารส่วนต� ำบลได้ โดยท� ำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทยและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในประกาศนั้นให้ ระบุชื่อและเขตขององค์การบริหารส่วนต� ำบลไว้ด้วย และมาตรา ๔๓ องค์การบริหารส่วนต� ำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=