สำนักราชบัณฑิตยสภา
211 ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ในกรณีแรก หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ท� ำทางรถไฟตัดผ่านถนนหรือที่ดินของบุคคล อื่น พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ ก� ำหนดว่า ….ในกรณีจ� ำเป็น เช่นนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอ� ำนาจท� ำทางผ่านเสมอระดับหรือลอดใต้หรือข้ามที่ดิน ถนน ทางรถ ราง แม่น�้ ำหรือล� ำคลอง ๓ และเมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนส� ำคัญเสมอระดับ การรถไฟแห่งประเทศไทยต้อง วางรางคู่ก� ำกับเพื่อให้มีช่องพอครีบล้อรถผ่านไปมาได้ กับให้ท� ำประตู หรือขึงโซ่ หรือท� ำราวกั้นขวางถนน หรือทางนั้น ๆ ตามที่เห็นสมควร ๔ ท� ำให้เข้าใจได้ว่า เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จัดท� ำเรื่องดัง กล่าว ความรับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการจัดท� ำจุดตัดทางรถไฟ ย่อมตกเป็นภาระแก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ ๒ หากบุคคลอื่นเป็นผู้ท� ำถนนตัดผ่านทางรถไฟที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนี้ไม่ปรากฏว่า พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้อง ท� ำอย่างไรและผู้ใดเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ซึ่งข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักเป็นกรณีที่หน่วยงานราชการ บริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ท� ำถนนผ่านทางรถไฟเพื่ออ� ำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในบริเวณนั้น แต่ การท� ำเช่นนั้นท� ำให้เกิดจุดตัดทางรถไฟที่ไม่ได้รับอนุญาตและเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นเป็นจ� ำนวนมาก เพื่อ แก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีความพยายามจัดตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งเพื่อเข้ามาดูแลรับผิดชอบในเรื่องดัง กล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ แต่งตั้งคณะกรรมการด� ำเนินงานด้าน ความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์กรรับผิดชอบในการก� ำหนดนโยบายและแผนแม่บทไป ด� ำเนินการ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธาน กรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมทุกคน ปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง จ� ำนวน ๒๓ คน เป็นกรรมการ นอกจากคณะกรรมการดังกล่าวแล้ว กระทรวงคมนาคมได้ ตระหนักถึงปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณจุดตัดทางรถไฟ จึงได้จัดให้มีการประชุมหารือเรื่องแนวทางแก้ไข ปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ควรมีการประสานงานร่วมระหว่างกระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงคมนาคมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ๓ พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ มาตรา ๔๑ กรมรถไฟแผ่นดินมีอ� ำนาจที่จะท� ำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่จ� ำเป็นตามสมควรแก่การในเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ท� ำทางผ่านเสมอระดับหรือลอดใต้หรือข้ามที่ดิน ถนนใหญ่น้อย ทางรถไฟ ทางรถราง แม่น�้ ำหรือล� ำคลอง และท� ำการก่อสร้างได้ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะท� ำขึ้นไว้แต่ชั่วคราวหรือว่าท� ำขึ้นไว้ตลอดกาลก็ดี… ๔ พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ มาตรา ๗๒ เมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนส� ำคัญเสมอระดับ ให้วาง รางคู่ก� ำกับเพื่อให้มีช่องพอครีบล้อรถผ่านไปมาได้ กับให้ท� ำประตู หรือขึงโซ่ หรือท� ำราวกั้นขวางถนนหรือทางนั้น ๆ ตามเห็นสมควร แก่การ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=