สำนักราชบัณฑิตยสภา
จุดตั ดทางรถไฟ 210 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ความเร็ว เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง จุดตัดทางรถไฟประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเหมาะกับทางตัดผ่านบน ทางหลวงหรือถนนนอกเมืองที่ห่างจากชุมชน ซึ่งจ� ำนวนยานพาหนะที่สัญจรไปมามีไม่มากนัก และส่วน มากเป็นยานพาหนะของผู้อาศัยอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ (๔) ทางลักผ่าน คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่เป็นทางเข้า-ออกประจ� ำของเอกชนหรือผู้อยู่ อาศัยบริเวณนั้น ๆ ผู้ท� ำทางตัดผ่านอาจจะเป็นประชาชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนต� ำบล แต่ไม่ได้มีการขออนุญาตท� ำทางตัดผ่านจากการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือไม่ ได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงเป็นทางตัดผ่านที่ไม่มีการควบคุมด้านความปลอดภัย ซึ่ง ในปัจจุบันนี้พบว่ามีจ� ำนวนมากและยากต่อการควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟ พบว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ประมาณร้อยละ ๘๗ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณจุดตัดทางรถไฟที่ไม่มีเครื่องกั้น ได้แก่ จุดตัดทางรถไฟ ประเภททางลักผ่าน และจุดตัดทางรถไฟที่ควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจรเพียงอย่างเดียว ๒ ส่วนสาเหตุ อื่น ๆ ที่ท� ำให้เกิดอุบัติเหตุในบริเวณจุดตัดทางรถไฟ เช่น การมีเครื่องหมายจราจรไม่ครบถ้วน ไม่ได้ มาตรฐาน หรืออยู่ในสภาพช� ำรุด ถนนช่วงเข้าสู่จุดตัดทางรถไฟมีความลาดชันจึงท� ำให้ไม่สามารถหยุด ยานพาหนะได้ทัน สภาพผิวจราจรบริเวณจุดตัดทางรถไฟช� ำรุด มีสิ่งปลูกสร้าง พุ่มไม้หรือหญ้าสูงบริเวณ ข้างทางรถไฟ ท� ำให้ระยะการมองเห็นรถไฟที่ก� ำลังเคลื่อนเข้ามาในบริเวณจุดตัดทางรถไฟมีไม่เพียงพอ การไม่มีไฟฟ้าและแสงสว่างบริเวณจุดตัดทางรถไฟ หรือการที่ผู้ขับขี่มีพฤติกรรมที่ขับฝ่าเครื่องกั้น ในส่วนประเด็นปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับจุดตัดทางรถไฟที่ส� ำคัญนั้นมี ๓ ประเด็น ได้แก่ผู้มีหน้าที่ ในการท� ำทางผ่านจุดตัดทางรถไฟ ความรับผิดชอบในค่าใช้จ่าย และการขออนุญาตก่อสร้างจุดตัดทางรถไฟ ความรับผิดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ และการบังคับใช้กฎหมายทั้งก่อนและหลังเกิดอุบัติเหตุ ๑. ผู้มีหน้าที่ในการท� ำทางผ่านจุดตัดทางรถไฟ ความรับผิดชอบในค่าใช้จ่าย และการขอ อนุญาตก่อสร้างจุดตัดทางรถไฟ ในประเด็นแรกนี้มีปัญหาว่า เมื่อเกิดจุดตัดทางรถไฟขึ้นแล้ว บุคคลใดหรือหน่วยงานใดมีหน้าที่ ลงทุนก่อสร้างสิ่งอ� ำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการขุดอุโมงค์ลอดทางรถไฟ การท� ำทาง ต่างระดับข้ามผ่านทางรถไฟ การท� ำเครื่องกั้น การติดตั้งสัญญาณแสงและสัญญาณเสียง ตลอดจนการดูแล ขอบและไหล่ทางของทางรถไฟมิให้มีสิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ หรือหญ้าขึ้นสูงอันจะท� ำให้บดบังการมองเห็นการ เคลื่อนตัวของรถไฟที่แล่นมายังจุดตัดทางรถไฟ ค� ำตอบในเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นผู้ท� ำทางรถไฟตัดผ่านถนนหรือที่ดินของบุคคลอื่น หรือในทางตรงกันข้ามบุคคลอื่นท� ำถนนตัดผ่าน ทางรถไฟที่มีอยู่แล้ว ๒ ส� ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม, รายงานฉบับสมบูรณ์ : โครงการศึกษาจัดท� ำแผนแก้ไขอุบัติเหตุบริเวณ จุดตัดทางรถไฟกับถนนส� ำหรับรถไฟทางไกล, ๒๕๓๓, หน้า ๑๕.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=