สำนักราชบัณฑิตยสภา

209 ไผทชิ ต เอกจริ ยกร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ผ่านที่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทยจ� ำนวน ๑,๙๒๓ แห่ง ทางลักผ่านประมาณ ๕๔๐ แห่ง ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ติดตั้งระบบป้องกันอุบัติเหตุหรือเครื่องกั้นถนน (รวมทั้งประเภทไฟเตือน อัตโนมัติ) เพียงประมาณ ๖๖๙ แห่ง จึงท� ำให้เห็นว่ายังมีจุดตัดผ่านอีกมากกว่า ๑,๐๐๐ แห่ง ที่ยังไม่มีการ ติดตั้งระบบป้องกันอุบัติเหตุหรือเครื่องกั้นถนน ในแต่ละปีปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในบริเวณจุดตัดทางรถไฟซึ่งเป็นจุดตัดของ ทางรถไฟกับถนนอยู่บ่อยครั้ง เช่น กรณีขบวนรถไฟชนรถเก๋งบริเวณจุดตัดทางรถไฟ บ้านคูบัว อ� ำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จนเป็นเหตุให้คนขับรถเสียชีวิต ส่วนผู้โดยสารที่มา ด้วยนั้นบาดเจ็บสาหัส ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะน� ำมาซึ่งความสูญเสียมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียชีวิตหรือทรัพย์สินทั้งของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ผู้ที่โดยสารอยู่บนพาหนะที่แล่นผ่าน ทางรถไฟ รวมทั้งการสูญเสียทรัพย์สินซึ่งได้แก่ความเสียหายแก่ตัวยานพาหนะที่แล่นผ่านและความเสียหาย แก่ตัวรถไฟ ในบางครั้งอุบัติเหตุดังกล่าวท� ำให้รถไฟตกราง นอกจากตัวรถไฟจะเสียหายแล้วยังท� ำให้การ เดินทางทางรถไฟต้องหยุดชะงักและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่มีความประสงค์จะเดินทางทางรถไฟ รวมตลอดจนถึงความล่าช้าในการขนส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งและผู้รับสินค้าทางรถไฟอีกด้วย จุดตัดทางรถไฟที่พบเห็นในปัจจุบันแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท คือ จุดตัดทางรถไฟแบบต่างระดับ จุดตัดทางรถไฟแบบมีเครื่องกั้น จุดตัดทางรถไฟแบบควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร และจุดตัดทางรถไฟ ที่เป็นทางลักผ่าน ๑ (๑) จุดตัดทางรถไฟแบบต่างระดับ คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่แยกการสัญจรของรถยนต์และ ขบวนรถไฟออกจากกัน มีทั้งแบบก่อสร้างสะพานข้ามและทางลอดใต้ทางรถไฟ ซึ่งเป็นแนวทางการป้องกัน อุบัติเหตุได้โดยสมบูรณ์ แต่จุดตัดทางรถไฟรูปแบบนี้มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เนื่องจากการ ก่อสร้างทางตัดผ่านต่างระดับต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ท� ำให้ต้องพิจารณาคัดเลือกจุดตัดทางรถไฟเฉพาะที่มี ความจ� ำเป็นและมีความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรมเท่านั้น (๒) จุดตัดทางรถไฟแบบมีเครื่องกั้น คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่ติดตั้งเครื่องกั้นเพิ่มเติมจากการ ควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร รวมทั้งอาจมีสัญญาณไฟวาบเตือนเมื่อรถไฟจะวิ่งผ่าน โดยที่สัญญาณไฟวาบ นี้จะมีเสียงเตือนประกอบด้วย ทางตัดผ่านประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในบริเวณที่มีทางตัดผ่านทางรถไฟกับ ถนนในตัวเมือง หรือบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น และบนทางหลวงแผ่นดิน (๓) จุดตัดทางรถไฟแบบควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่มีการควบคุม ด้วยป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง เช่น ป้ายหยุด ป้ายเตือนรถไฟล่วงหน้า ป้ายจ� ำกัด ๑ ส� ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม, รายงานฉบับสมบูรณ์ : โครงการศึกษาจัดท� ำแผนแก้ไขอุบัติเหตุบริเวณ จุดตัดทางรถไฟกับถนนส� ำหรับรถไฟทางไกล, ๒๕๓๓, หน้า ๑-๖.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=