สำนักราชบัณฑิตยสภา

205 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ การขัดแย้งระหว่างกลุ่มในภาวะการณ์ที่มีความเดือดร้อนคับขันเช่นกรณีมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ถ้าต่างฝ่ายต่างมีทิฐิยึดมั่นว่าตัวเองคือฝ่ายถูกอยู่ตลอดเวลา การด� ำเนินการแก้ไขให้ประสบผลย่อม เป็นไปได้ยาก ท่านทั้งหลายรวมทั้งตัวผู้เขียนบทความนี้ก็เช่นกัน ถ้าเรายังมีทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในใจ ยอมรับในสิ่งที่ตรงกับสิ่งที่ใจเราคิดและไม่ยอมรับในสิ่งที่ขัดแย้งกับใจเราคิด นอกจากงานที่ควรจะร่วมใจ กันคิดและร่วมมือกันท� ำจะไม่มีความก้าวหน้าแล้ว ใจเราเองจะสร้างสมไว้แต่ความทุกข์ สัมมาทิฐิที่เราคิด ที่เรายึด แท้จริงแล้วอาจคือมิจฉาทิฐิก็เป็นได้ เหรียญโดยทั่วไปมี ๒ ด้านเป็นเอกลักษณ์ ด้านหนึ่งคือ “หัว” และอีกด้านหนึ่งคือ “ก้อย” ตัวเราอาจมองว่าด้าน “หัว”สวย แต่ส� ำหรับคนอื่นเขาอาจมองว่าด้าน “ก้อย” สวย เรามีเหตุผลของเราที่มองอย่างนี้ คนอื่นเขาก็มีเหตุผลของเขาเช่นกันที่เขามองในมุมของเขาอย่างนั้น ด้วยสภาพดังกล่าว การมองความดีและความชั่ว ความผิดและความถูก ไม่ควรมองเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องมองและพินิจพิจารณาให้ครบถ้วนทั้ง ๒ ด้าน เหมือนกรณีวิกฤติน�้ ำท่วมปี ๒๕๕๔ ถ้าเรามองเฉพาะผล กระทบซึ่งเป็นด้านลบเพียงอย่างเดียวโดยไม่มองอะไรที่เป็นด้านบวกบ้าง เราก็คงจะมีแต่ความทุกข์ใจ อีกทั้งความขัดแย้งในสังคมก็คงไม่มีวันจบสิ้น ก็ยังรู้สึกเสียดายมากที่หลายฝ่ายไม่ยอม “พลิกวิกฤติให้เป็น โอกาส” จากมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=