สำนักราชบัณฑิตยสภา

มหาอุทกภั ยปี ๒๕๕๔ : มุมมองของนั กภูมิ ศาสตร์ 204 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 บทสรุป มหาอุทกภัยเมื่อปี ๒๕๕๔ เมื่อพิจารณาในด้านลบ ได้สร้างความสูญเสียและความเสียหาย อย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นประวัติการณ์ครั้งหนึ่งของประเทศไทย ท่ามกลางความ เดือดร้อนทุกข์เข็ญของประชาชนและความเหน็ดเหนื่อยจากการทุ่มเทท� ำงานของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา และบรรเทาความทุกข์ยากจากผลกระทบ ยังมีบางประเด็นที่อาจน� ำมาพิจารณาในเชิงบวกได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการได้บทเรียนส� ำคัญส� ำหรับการเรียนรู้เพื่ออนาคตกรณีของการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ การป้องกันภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด คลื่นสึนามิ (tsunami) พายุหมุน และ/ หรืออุทกภัยซึ่งมิใช่เรื่องที่จะท� ำได้ง่าย ด้วยเหตุเพราะเราไม่สามารถคาดท� ำนายได้อย่างแม่นย� ำว่าจะเกิด เมื่อใดและจะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงไร การคาดประมาณในทางเศรษฐศาสตร์ที่ยอมรับกันว่ามีความ เชื่อถือได้ค่อนข้างต�่ ำ เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกหลายอย่างที่ไม่ได้คาดคิดไว้ก่อนว่าจะเกิดแต่กลับเกิด ในทางกลับกันปัจจัยที่คาดว่าจะเกิดแน่นอนแต่กลับไม่เกิด แต่การคาดการณ์การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีความเชื่อถือได้ต�่ ำกว่า การที่มีผู้กล่าวว่า ปี ๒๕๕๕ จะมีพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยจ� ำนวน ๒๖ ลูก จึงเป็นประเด็นที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ธรรมชาติที่ถูกรบกวนและถูกท� ำลายจนเสียสมดุลในปัจจุบัน สามารถ ท� ำให้เกิดความวิปริตทางสิ่งแวดล้อมได้ทุกลักษณะและทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้คาดคิดว่าจะเป็นไปได้ มีใครบ้างที่คาดคิดว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลกจะมีผลกระทบที่รุนแรงมากดังที่เป็น เช่นทุกวันนี้ มีใครสักกี่คนที่คิดว่าความเจริญก้าวหน้าในยุคโลกาภิวัตน์จะท� ำให้เกิดการสูญเสียความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างน่าวิตก และมีใครสักกี่คนจะคิดบ้างว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดกับโลก ของเราจะมีความถี่มากขึ้นและรุนแรงเพิ่มขึ้น ดังนั้น การที่มีคนพูดว่าจะมีพายุจ� ำนวน ๒๖ ลูก อาจจะไม่มี เลยก็ได้ หรืออาจจะมีเพียง ๒-๓ ลูก หรืออาจมีมากเป็น ๓๐-๓๕ ลูกก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น มีอีกอย่างน้อย ๒ บทเรียนที่มีค่ามากส� ำหรับการเรียนรู้จากภัยพิบัติน�้ ำท่วมที่ผ่านมา บทเรียน หนึ่งคือ ความผิดพลาดและความสับสนในการให้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกรณีนี้เกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย ของประชาชนและความเสียหายของประเทศชาติ ประสบการณ์จากบทเรียนสอนให้รู้ว่าถ้ายังขาด หรือยัง ไม่มีข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ ก็ยังไม่ควรที่จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ เพราะรัง แต่จะก่อให้เกิดความตระหนกและตอบสนองด้วยการกระท� ำการใด ๆ ในทางที่ไม่เหมาะสม อีกบทเรียน หนึ่งที่มีคุณค่ามากเช่นกัน คือ ความไม่มีเอกภาพในการท� ำงาน ประสบการณ์ได้สอนให้รู้ว่าการณ์ใหญ่ที่มี ความส� ำคัญเช่นนี้ การประสานการท� ำงานอย่างเป็นเอกภาพมีความจ� ำเป็นเพื่อจะท� ำให้การด� ำเนินการใด ๆ ก็ตามประสบความส� ำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ การขาดความเป็นหนึ่งเดียวในการท� ำงานจะเป็นด้วยความ อยากเด่นหรือจะเป็นด้วยความเร่งด่วนที่ท� ำให้ไม่สามารถประสานหน่วยงานอื่นได้ทันก็ตาม ผลที่เกิดขึ้น ตามมาแทนที่จะเป็นการทุเลาความเดือดร้อนให้น้อยลง กลับจะกลายเป็นการซ�้ ำเติมให้ผลกระทบมีความ รุนแรงมากขึ้นได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=