สำนักราชบัณฑิตยสภา

203 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ตื้นเขินและมีน�้ ำมากแต่การระบายน�้ ำไม่คล่องตัว ปัญหาน�้ ำท่วมก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน ต่างกันตรงที่ว่า ปัญหา จราจรติดขัดสามารถแก้ไขได้ด้วยการขยายถนน สร้างถนนยกระดับ และ/หรือท� ำถนนใต้พื้นดิน ส� ำหรับ ล� ำน�้ ำที่ตื้นเขิน วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขคือการขุดลอกล� ำน�้ ำ ๔) งดการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมใด ๆ ที่มีความชัดเจนว่าเป็นการใช้ที่ดินผิดประเภท ตามหลักการจัดความเหมาะสมของที่ดิน (land suitability classification) พื้นที่ราบภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยที่ผ่านมารุนแรงที่สุดได้ให้บทเรียนที่ส� ำคัญส� ำหรับการจัดการในเรื่องนี้ ความเป็นที่ราบน�้ ำท่วมถึงและความเป็นพื้นที่แก้มลิงตามธรรมชาติท� ำให้ภาคกลางเหมาะสมส� ำหรับการ ปลูกข้าว การปลูกอย่างอื่นที่ไม่ใช่ข้าว ไม่ว่าจะเป็นปลูกบ้านจัดสรร หรือโรงงานอุตสาหกรรมจึงถือว่า เป็นการใช้ที่ดินผิดประเภท นอกจากจะเป็นการลดพื้นที่กักเก็บน�้ ำตามธรรมชาติแล้ว การส่งเสริมให้มี ธุรกิจการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและนิคมอุตสาหกรรมยังมีส่วนท� ำให้แผ่นดินทรุด และเป็นการกีดขวางทาง ระบายน�้ ำลงสู่ทะเลอ่าวไทย ๕) ควรเน้นการจัดหาพื้นที่แก้มลิง หรือพื้นที่รองรับน�้ ำขนาดเล็กถึงขนาดกลางให้กระจายอย่าง ทั่วถึงในพื้นที่ที่มีโอกาสจะเกิดภัยน�้ ำท่วมแทนการสร้างพื้นที่แก้มลิงขนาดใหญ่ การคิดใหญ่ท� ำใหญ่ใน หลายกรณีไม่สามารถด� ำเนินการให้ประสบผลส� ำเร็จได้ในทางปฏิบัติด้วยปัจจัยที่เป็นอุปสรรคนานัปการ ถ้าคิดใหญ่แล้วท� ำแบบค่อยเป็นค่อยไปในพื้นที่ขนาดเล็กตามความจ� ำเป็นเร่งด่วนก่อน (think globally, act locally) น่าจะได้ผลมากกว่าในระยะยาว หลักการที่สามารถด� ำเนินการได้คือ ส่งเสริมให้เกษตรกร น� ำพื้นที่นาหรือไร่ของตนเองส่วนหนึ่งจัดท� ำเป็นแหล่งน�้ ำส� ำรอง หรือส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นรวมกลุ่มกัน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้น� ำในการจัดหาพื้นที่ส� ำหรับท� ำเป็นพื้นที่รองรับน�้ ำขนาดกลางไว้ เพื่อประโยชน์ของชุมชนเอง การจัดท� ำพื้นที่แก้มลิงขนาดเล็กและขนาดกลางให้มีกระจายอยู่โดยทั่วไป เช่นนี้ย่อมเป็นไปได้ง่ายกว่าในทางปฏิบัติเมื่อเทียบกับพื้นที่ขนาดใหญ่ ส� ำคัญที่สุดคือ การด� ำเนินการตาม แนวคิดดังกล่าวยังเป็นการบริหารจัดการน�้ ำที่มีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยป้องกันน�้ ำท่วม ในด้านหนึ่งแล้ว พื้นที่แก้มลิงดังกล่าวยังจะช่วยให้เกษตรกรมีน�้ ำไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งได้ด้วย ๖) การสร้างเส้นทางระบายน�้ ำ (floodways) เป็นโครงการที่สมควรสนับสนุนให้มีการ ด� ำเนินการ เพราะจะเป็นมาตรการหนึ่งในการแก้ปัญหาน�้ ำท่วมในระยะยาว การจัดท� ำเส้นทางระบายน�้ ำ หรือในทางภูมิศาสตร์เรียกว่า การท� ำช่องทางระบายน�้ ำ (channelization) คือ การขุดลอกล� ำน�้ ำให้ลึก ท� ำให้ ล� ำน�้ ำกว้าง และท� ำให้ล� ำน�้ ำมีความเป็นทางตรงมากขึ้น ( miller , 1998) อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดผลกระทบ น้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสังคม อีกทั้งยังเป็นการสร้างประโยชน์เสริมขึ้นมาจากโครงการขอเสนอว่า การสร้างเส้นทางระบายน�้ ำควรยึดตามแนวคิดของธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล คือ จัดท� ำเป็นทางด่วนระบายน�้ ำ (super express floodway) โดยใช้เส้นทางระบายน�้ ำตามธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว สองฝั่งของทางด่วนระบาย น�้ ำเมื่อท� ำการขุดลอก สามารถน� ำดินและทรายมาถมและพัฒนาเป็นเส้นทางถนนเชื่อมระว่างชุมชนหรือ ระหว่างเมืองได้ด้วย (www.oknation)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=