สำนักราชบัณฑิตยสภา
มหาอุทกภั ยปี ๒๕๕๔ : มุมมองของนั กภูมิ ศาสตร์ 202 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 เมื่อภัยมา ประเด็นหนึ่งที่น่าคิดและน่าวิเคราะห์คือ ความเดือดร้อนที่เกิดแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งในรูปของการสูญเสียชีวิตของคนในครอบครัว และความเสียหายของทรัพย์สินจากการถูกน�้ ำท่วม นอกเหนือจากการวางเฉยเนื่องจากมองว่าภัยพิบัติน�้ ำท่วมเป็นเรื่องของธรรมชาติและเป็นเรื่องธรรมดา การไม่เลือกหรือไม่ตัดสินใจท� ำประกันภัย ยังเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าจะเป็นบทเรียนที่ส� ำคัญ ประชาชน ส่วนใหญ่ไม่ชอบที่จะท� ำประกันภัย เพราะมีความคิดและความเชื่อว่าการท� ำประกันภัยคือการแช่งตัวเอง แทนที่จะคิดว่าการท� ำประกันภัยจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้เมื่อเกิดภัยพิบัติ ข้อเสนอแนะ จากการที่ได้ทบทวนบริบทของมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ตั้งแต่ก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างเกิด และ ภายหลังเกิดภัยพิบัติ พอที่จะสังเคราะห์และประมวลเป็นข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการภูมิศาสตร์ ส� ำหรับการบริหารจัดการเพื่อมิให้เกิดความสูญเสีย และความเสียหายอย่างมหาศาลเมื่อจะมีวิกฤติน�้ ำท่วม ใหญ่เกิดขึ้นอีกในอนาคตได้ดังนี้ ๑) การกระตุ้นเตือนให้ประชาชนมีความตระหนักในภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น ต้อง ท� ำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รัฐบาลโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องมีความตระหนักก่อนว่าเรื่องของภัย ธรรมชาติมิใช่เรื่องปรกติธรรมดาอีกต่อไปแล้ว ความวิปริตของเหตุการณ์ต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด เวลาตราบที่โลกของเราได้ถูกท� ำลายและก� ำลังถูกท� ำลายให้เสียสมดุลมากขึ้น การด� ำเนินการในส่วนนี้ของ หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเน้น (๑) การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยผู้ที่รู้จริง และบนพื้นฐานของข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ (๒) การใช้สื่อที่หลากหลายและสามารถเข้าถึง ประชาชนได้อย่างทั่วถึง (๓) ความทันท่วงทีต่อเหตุการณ์ที่จะเกิด และ (๔) แนวทาง มาตรการ และ/หรือ วิธีการในการตอบสนองต่อภัยพิบัติที่เหมาะสม ๒) การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกป่า (forest plantation) และการฟื้นฟูสภาพป่า (reforestation) เป็นวาระที่รัฐบาลต้องให้ความส� ำคัญ ส� ำหรับชีวิตทุกชีวิตบนพื้นโลก อากาศคือปัจจัยที่ ส� ำคัญที่สุด ถ้าขาดอากาศเพื่อการหายใจทุกชีวิตก็อยู่ไม่ได้ ส� ำหรับระบบนิเวศโลก (global ecosystem) ของเรานี้ พืชคือปัจจัยที่ส� ำคัญที่สุดที่จะรักษาความสมดุลและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ บน พื้นโลกให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ความส� ำคัญของพืชมิได้มีเพียงเท่านั้น พืชยังมีความส� ำคัญทางกายภาพในฐานะ ที่เป็นตัวการในการปรับสภาพภูมิอากาศ (ฝน และอุณหภูมิ เป็นส� ำคัญ) ป้องกันการพังทลายของดิน เป็น ตัวกลางในการกักเก็บน�้ ำตามธรรมชาติ และเป็นตัวกลางในการชะลอการไหลบ่าของน�้ ำเมื่อมีฝนตกหนัก ๓) การขุดลอกคูคลอง ล� ำน�้ ำ และเส้นทางระบายน�้ ำต้องกระท� ำโดยเร่งด่วน สาเหตุหลักประการ หนึ่งของการเกิดมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ คือ อุปสรรคในการระบายน�้ ำลงสู่ทะเลอันเนื่องมาจากล� ำน�้ ำตื้นเขิน ล� ำน�้ ำก็มีลักษณะคล้ายกับถนน ถ้าถนนแคบและมีรถเป็นจ� ำนวนมากปัญหาการจราจรก็เกิดขึ้น ล� ำน�้ ำเมื่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=