สำนักราชบัณฑิตยสภา

201 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ หลังเกิดภัยพิบัติ ๖) สารพัดโครงการในการแก้ไขปัญหาและการบรรเทาผลกระทบจากมหาอุทกภัยผุดขึ้นมาคล้าย กับดอกเห็ด วิเคราะห์ได้ว่าประเพณีปฏิบัติและวัฒนธรรมองค์กรบางอย่างของระบบการเมืองการปกครอง ไทยยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก ความคิดเดิม ๆ ที่ว่า ถ้ายังไม่มีอะไรมาท� ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิต หรือวิถีการท� ำงานก็ท� ำไปเรื่อย ๆ ท� ำนอง “เช้าชาม เย็นชาม” ต่อเมื่อมีความเดือดร้อนเกิดขึ้น ก็ปรับปรุงแก้ไขกันเป็นคราว ๆ ไป ในลักษณะคล้ายกัน ตอนที่ยังไม่เกิดมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ผู้รับผิดชอบ ก็มิได้คิดหามาตรการหรือวิธีการใด ๆ ในการป้องกันดูแล ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าอุทกภัยก็เกิดขึ้นทุกปี (สามารถ ล่วงรู้ได้เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม) รุนแรงมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณีเมื่อเกิดวิกฤติน�้ ำท่วม ใหญ่แล้วจึงคิดหามาตรการในรูปแบบต่าง ๆ จึงเป็นเสมือนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเข้าท� ำนอง “วัวหาย ล้อมคอก” ซึ่งไม่แน่ชัดว่าจะแก้ปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้จริงหรือไม่ มีสิ่งที่น่าสังเกตและน่าวิเคราะห์ในเชิงภูมิศาสตร์เป็นอย่างยิ่งส� ำหรับโครงการแก้ไขปัญหาน�้ ำ ท่วมของรัฐบาลบางโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการแก้มลิง และโครงการจัดท� ำเส้นทางระบายน�้ ำ (floodways) ด้วยหลักการและแนวคิดไม่มีอะไรที่ไม่ถูกต้อง การป้องกันไม่ให้เกิดน�้ ำท่วมไม่ว่าจะเป็น ที่ใดก็ตาม ถ้าไม่หาพื้นที่ที่จะกักเก็บน�้ ำที่จะท่วมเอาไว้ในด้านหนึ่ง และไม่หาทางระบายน�้ ำที่จะท่วมพื้นที่ ที่ไม่ต้องการให้ท่วมในอีกด้านหนึ่งก็เป็นการยากที่จะป้องกันน�้ ำท่วมได้ส� ำเร็จ อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ ในทางปฏิบัติคงไม่ใช่สิ่งที่สามารถท� ำได้โดยง่ายอย่างที่คิด แม้จะมีงบประมาณสนับสนุนเป็นแสนล้านบาท ก็ตาม ธรรมชาติอย่างหนึ่งของการจัดให้มีโครงการพัฒนาใด ๆ คือ การมีทั้งผลได้ (benefits) และผลเสีย (costs) ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการนั้น อย่างน้อยที่สุดมีเหตุผลอยู่ ๒ ประการที่ส� ำคัญที่จะเป็นอุปสรรค ต่อการด� ำเนินโครงการ ๒ โครงการดังกล่าว ประการแรกคือ การหาพื้นที่จ� ำนวน ๒ ล้านไร่เพื่อจัดให้เป็น พื้นที่ส� ำหรับรองรับน�้ ำ (แก้มลิง) ตามที่รัฐบาลเสนอนั้น จะเอาพื้นที่มาจากไหน พื้นที่ ๒ ล้านไร่หรือ ๓,๒๐๐ ตารางกิโลเมตรจัดว่าเป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มาก คงไม่สามารถจัดหาได้โดยง่าย ถ้าจะต้องเลือกเอาพื้นที่ ภาคกลางมาท� ำเป็นพื้นที่แก้มลิงนั่นเท่ากับการสูญเสียพื้นที่ปลูกข้าวจ� ำนวนมาก ถ้ามีการบริหารจัดการไม่ดี จะมีปัญหาเศรษฐกิจและสังคมตามมา ประการที่ ๒ คือ ความไม่แน่ใจว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นการแก้ไข ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน หรือเป็นการสร้างความเดือดร้อนเพิ่มเติมให้กับประชาชน รัฐบาล อาจอ้างว่าจะมีการเวนคืนที่ดินและจ่ายเงินชดเชยให้อย่างคุ้มค่า หรืออาจอ้างว่าขอให้คนส่วนน้อยเสียสละ เพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือเพื่อความอยู่รอดของประเทศ วิธีการดังกล่าวดูจะเป็นการไม่ยุติธรรมใน เชิงสิทธิของความเป็นมนุษย์ ยิ่งไปกว่านี้คือ ผลกระทบของโครงการฯ ที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ในพื้นที่ และบริเวณโดยรอบโครงการฯ ยังเป็นประเด็นที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย ๗) มหาอุทกภัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ น่าจะเป็นบทเรียนที่ส� ำคัญยิ่งส� ำหรับประชาชนและองค์กร อีกหลายกลุ่มรวมทั้งรัฐบาล อย่างน้อยก็สอนให้ทุกฝ่ายได้รู้ว่าควรปรับตัวอย่างไรและควรตอบสนองอย่างไร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=