สำนักราชบัณฑิตยสภา

มหาอุทกภั ยปี ๒๕๕๔ : มุมมองของนั กภูมิ ศาสตร์ 200 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ของประชาชนคือ การด� ำเนินงานที่ขาดเอกภาพ ความสูญเสียและความเสียหายอาจไม่รุนแรงเหมือนกับ ที่เกิดไปแล้วหากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งหมายรวมถึงหน่วงงานของรัฐในระดับกระทรวง ทบวง และกรมได้ ประสานการท� ำงานระหว่างกันให้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ มีข่าวปรากฏตามสื่อมวลชนอยู่เนือง ๆ ระหว่างเกิดมหาอุทกภัยว่า หน่วยงานหนึ่งให้วาง (กระสอบทราย) แต่อีกหน่วยงานหนึ่งให้รื้อออก หรือ แม้แต่หน่วยงานหนึ่งสั่งให้ปิดประตูระบายน�้ ำ แต่อีกหน่วยงานหนึ่งสั่งให้เปิด ท� ำให้ดูสับสนวุ่นวายไม่รู้ว่า ใครคือผู้รับผิดชอบและมีอ� ำนาจในการสั่งการที่แท้จริง ๔) ความสับสนในการให้ข้อมูลของ (คนใน) รัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความเดือดร้อนให้กับ ประชาชนเพิ่มมากขึ้น การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่มีความถูกต้องและเชื่อ ถือได้ย่อมท� ำให้เกิดผลดีแก่ประชาชนเองเมื่อน� ำข้อมูลนั้นไปคิดวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจท� ำอย่างหนึ่งอย่างใด ลงไป การประชาสัมพันธ์ในระหว่างการเกิดมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ มิได้เป็นเช่นนั้น ความผิดพลาดในการให้ ข้อมูลจนท� ำให้คนและชุมชนจ� ำนวนหนึ่งต้องได้รับความเดือดร้อน ได้กลายเป็นค� ำท� ำนองล้อเลียนตามสื่อ ประเภทหนังสือพิมพ์อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ ด้วยเหตุที่ภาครัฐไม่ทราบและไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าปริมาณน�้ ำ ที่ไหลบ่ามาทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานครมีมากน้อยเพียงไร และคิดว่าพื้นที่รองรับน�้ ำที่มีน่าจะรองรับ น�้ ำ (ที่ไม่ทราบปริมาณแน่นอน) ได้ จึงได้ให้ค� ำมั่นกับประชาชนในชุมชนว่า รัฐบาล “เอาอยู่” สุดท้ายคือ เอาไม่อยู่ คนในรัฐบาลระดับรัฐมนตรีประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนว่า “มีบางพื้นที่ที่น�้ ำไม่ท่วมแน่นอน ประชาชนผู้ประสงค์จะอพยพหลบภัยสามารถย้ายไปพ� ำนักชั่วคราวได้” สุดท้ายที่รับประกันว่าน�้ ำไม่ท่วม แน่นอนกว่า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นั้นได้ถูกน�้ ำท่วมเป็นที่เรียบร้อย ๕) การแก้ไขปัญหา และการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากน�้ ำท่วม เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพระหว่างเกิดมหาอุทกภัย สาเหตุที่วิเคราะห์ได้คือ มีคนจ� ำนวนหนึ่งเป็นพวกที่ สังกัดกลุ่ม NATO (No Action, Talk Only) ซึ่งหมายถึงกลุ่มบุคคลที่ไม่ชอบท� ำแต่ชอบพูด การแก้ปัญหา ความเดือดร้อนจึงไม่ไปถึงไหน บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่พบในสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้เช่นกัน คือ พวกที่สังกัด กลุ่ม AFTA (Action First, Talk After) คนกลุ่มหลังนี้ช่วยน� ำพาให้การแก้ไขปัญหาและการบรรเทาความ เดือดร้อนด� ำเนินไปได้ ที่น่าเสียดายคือคนในกลุ่มหลังนี้มีค่อนข้างน้อยและไม่มีอ� ำนาจสั่งการเมื่อเทียบกับ คนในกลุ่มแรก นอกเหนือจากที่กล่าวแล้วยังวิเคราะห์ต่อไปได้อีกว่ามีการพูดถึงสภาพของน�้ ำท่วมและผล กระทบที่เกิดจากน�้ ำท่วมกันเป็นส่วนใหญ่ มีส่วนน้อยมากที่พูดถึงเหตุที่ท� ำให้เกิดน�้ ำท่วม มีการพูดถึงกัน มากถึงมาตรการและวิธีการในการจัดการมวลน�้ ำปริมาณมหาศาลว่าจะให้ไหลไปตามเส้นทางไหน ในการ ปฏิบัติจริงไม่สามารถด� ำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะปัจจัยภายนอกและปัจจัยแทรกซ้อนจ� ำนวน หนึ่ง เช่น เส้นทางระบายน�้ ำมีจ� ำกัด ปริมาณน�้ ำมีมากกว่าเส้นทางระบาย น�้ ำทะเลหนุนสูง และมีประชาชน ต้องได้รับผลกระทบเป็นจ� ำนวนมาก เป็นต้น ที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นอยู่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=