สำนักราชบัณฑิตยสภา

11 ครรชิ ต มาลัยวงศ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ การออกแบบรายงาน ฯลฯ งานเหล่านี้เป็นงานที่ซับซ้อน ต้องใช้บุคลากรที่มีความสามารถทางด้านเทคนิค จ� ำนวนมาก ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน อีกทั้งยังต้องมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้และบริหารงานระบบ สารสนเทศของหน่วยงานนั้นมาร่วมมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศด้วย ระบบสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนามาอย่างเหมาะสมสามารถช่วยให้หน่วยงานราชการให้บริการ ประชาชนในหน่วยงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น กรมการกงศุลสามารถให้บริการท� ำ หนังสือเดินทางแก่ประชาชนได้ภายใน ๑ วัน กรมสรรพากรให้บริการการช� ำระภาษีเงินได้ส่วนบุคคลและ การยื่นภาษีผ่านระบบอออนไลน์ กรมการขนส่งทางบกสามารถให้บริการต่ออายุทะเบียนรถยนต์ได้ภายใน เวลาไม่กี่นาที กรมการปกครองสามารถท� ำบัตรประชาชนให้แก่ผู้ขอรับบริการได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ในภาคเอกชนเอง ระบบสารสนเทศสามารถช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกค� ำนวณราคาสินค้าของผู้ซื้อได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง และช่วยให้บริษัทสามารถบริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารสามารถให้ บริการด้านต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นย� ำถูกต้อง สายการบินสามารถให้บริการการจองและซื้อบัตร โดยสารเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก ฯลฯ แม้การใช้ระบบสารสนเทศในด้านต่าง ๆ จะก้าวหน้าไปมาก แต่ก็ยังคงจ� ำกัดอยู่แต่เพียงในหน่วย งานส่วนน้อย ในขณะนี้หน่วยงานส่วนมากทั้งในภาครัฐและเอกชนยังไม่สามารถใช้ระบบสารสนเทศที่มี ประสิทธิภาพดีและก้าวหน้าได้มากเท่าที่ควร การปฏิบัติงานส่วนใหญ่ยังคงใช้กระดาษเขียนค� ำร้องและ บันทึกการด� ำเนินงาน และไม่สามารถค้นคืนสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจหรือการจัดการได้ สาเหตุที่ ท� ำให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้มีอยู่หลายประการ เช่น หน่วยงานราชการไม่ได้รับงบประมาณเพียงพอที่จะ จัดซื้อจัดหาหรือพัฒนาระบบสารสนเทศมาใช้งาน หน่วยงานราชการไม่มีบุคลากรที่มีความสามารถและมี จ� ำนวนเพียงพอที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเอง หน่วยงานพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมาใช้แล้วไม่ได้รับการ ยอมรับจากบุคลากรที่จะต้องใช้งานระบบนั้น บริษัทที่ปรึกษาที่ได้รับการว่าจ้างให้พัฒนาระบบสารสนเทศ ไม่ประสบความส� ำเร็จในการพัฒนาระบบตามที่ได้รับการว่าจ้าง ผู้บริหารของหน่วยงานไม่สนใจที่จะน� ำ ระบบสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานและการจัดการ ฯลฯ. ปัญหาทั้งหลายที่ได้กล่าวถึงข้างต้นนี้ท� ำให้เกิดความเสี่ยงในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่หน่วย งานต้องการใช้ ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสารสนเทศทั้งในหน่วยงานที่เป็นผู้ว่าจ้างให้พัฒนา หน่วย งานที่รับจ้างพัฒนา หรือหน่วยงานภายในที่ท� ำหน้าที่พัฒนาระบบสารสนเทศเอง มักจะละเลยไม่ได้ค� ำนึง ถึงความเสี่ยงเหล่านี้มากนัก ผลก็คือการพัฒนาระบบสารสนเทศมักจะล้มเหลว กล่าวคือ ไม่สามารถพัฒนา ระบบสารสนเทศได้ตามก� ำหนด พัฒนาระบบเสร็จจริงแต่ไม่ผ่านการตรวจรับ หรือผ่านการตรวจรับแต่น� ำ ไปใช้งานไม่ได้เพราะผู้ใช้ไม่ยอมรับหรือไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง ฯลฯ แต่ไม่ว่าการล้มเหลวจะเกิด เพราะสาเหตุใด ผลลัพธ์ที่ส� ำคัญก็คือหน่วยงานเสียโอกาสที่จะได้ใช้งานระบบสารสนเทศ และต้องเริ่มต้น หาวิธีที่จะจัดหาระบบสารสนเทศใหม่มาแทนระบบที่ใช้ไม่ได้นั้น ส่วนบริษัทผู้พัฒนาระบบสารสนเทศให้ก็

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=