สำนักราชบัณฑิตยสภา
199 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ มหาศาลเหนือเขื่อนใหญ่ทั้งสองในเวลาไล่เลี่ยกัน ท� ำให้มีความจ� ำเป็นในการเร่งระบายน�้ ำปริมาณมากใน ช่วงเวลาอันสั้น มิเช่นนั้นปริมาณน�้ ำจะล้นตัวเขื่อนซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อตัวเขื่อนและต่อประชาชน ที่อาศัยอยู่ท้ายเขื่อนอย่างรุนแรงได้ การน� ำเอาความเป็นความตายของประชาชนและความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้นกับประเทศชาติมาเป็นประเด็นขัดแย้งทางการเมืองจึงไม่เป็นการถูกต้องและไม่สมควรเกิดขึ้น ๒) ความสูญเสียและความเสียหายจากมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ไม่น่าจะมีความรุนแรงถึงขนาด ที่มีผู้เสียชีวิต ๘๑๓ ศพ และทรัพย์สินเสียหายมีมูลค่ารวมกันกว่า ๑๘๕,๐๐๐ ล้านบาท ถ้าหน่วยงานที่ รับผิดชอบโดยตรงมีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเกิดพายุ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดตามมา แล้วรีบแจ้งให้ ประชาชนได้รับทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลาพอสมควรเพื่อเตรียมตัวตอบสนองต่อสถานการณ์ที่จะเกิด อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายที่ข้อมูลที่ชัดเจนดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงได้เป็นการล่วงหน้า เมื่อมีข้อมูล และทราบชัดเจนว่าจะมีพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยก็เป็นช่วงเวลาที่กระชั้นชิดและไม่สามารถแจ้ง เตือนให้ประชาชนได้ทราบอย่างทันท่วงที เชื่อมโยงกับสาระที่กล่าวแล้ว คือ ความหายนะส่วนหนึ่งมาจากการขาดความชัดเจนในข้อมูล ถึง กระนั้นก็ตาม มิได้หมายความว่าการมีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพายุและปริมาณน�้ ำฝนที่มีความถูกต้อง เชื่อได้ สูง และสามารถแจ้งให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้าเพื่อการเตรียมตัวป้องกันแล้วก็ตาม จะท� ำให้ความสูญ เสียและความเสียหายลดลงอย่างมีนัยส� ำคัญ ทั้งนี้ วิเคราะห์ได้ว่าวัฒนธรรมทางความคิดของคนไทยอย่าง หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติการณ์ทางธรรมชาติคือ “จะยังไม่เคลื่อนไหว จนกว่าภัยจะมา” นั้นประเด็นหนึ่ง อีกประเด็นหนึ่งคือการตอบสนองต่อภัยพิบัติด้วยการวางเฉย คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยที่อาศัยอยู่ ในชนบทจะไม่มีความจริงจัง ไม่วิตกกังวล หรือไม่เดือดร้อนมากมายนักกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความคิด ที่ว่า “มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ นาน ๆ ถึงจะเกิดสักครั้ง” และ/หรือ “เป็นเรื่องปรกติมันเกิดอยู่ทุกปี” เหล่านี้คือเหตุผลที่ท� ำให้ประชาชนไม่คิดหามาตรการในการป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น ระหว่างเกิดภัยพิบัติ ๓) เกิดความล้มเหลวในการแก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผล กระทบจากมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ล� ำพังความเสียหายในทรัพย์สินก็แสนสาหัสอยู่แล้ว แต่ประชาชนยัง ต้องมีความทุกข์ใจเพิ่มเข้ามาอีก ในด้านหนึ่งพวกเขาต้องสูญเสียคนที่รักในครอบครัวไปในเหตุการณ์ และ ในอีกด้านหนึ่งคือ ความล่าช้า ความไม่ทั่วถึง และความไม่เท่าเทียมกันในการได้รับการช่วยเหลือเยียวยา จากภาครัฐ สิ่งที่น่าเสียดายอย่างที่สุดคือ วิกฤติน�้ ำท่วมใหญ่ครั้งนี้น่าจะเป็นโอกาสให้คนไทยทั้งชาติได้หัน กลับมาปรองดองสมานฉันท์กันเหมือนอดีต แต่กลับกลายเป็นว่าคนไทยน� ำเอาวิกฤตินี้ไปเป็นประเด็นท� ำให้ เกิดความโต้แย้งและขัดแย้งกันมากขึ้น อีกประเด็นหนึ่งที่วิเคราะห์ได้ว่าเป็นความล้มเหลวในการแก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=