สำนักราชบัณฑิตยสภา
มหาอุทกภั ยปี ๒๕๕๔ : มุมมองของนั กภูมิ ศาสตร์ 198 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 เป็นเมือง (urbanization) ส� ำหรับพื้นที่ของจังหวัดอื่นในภาคกลาง การทรุดตัวของแผ่นดินส่วนใหญ่เกิด จากการดึงเอาน�้ ำใต้ดินมาใช้เพื่อการเกษตรและการอุตสาหกรรม การส� ำรวจโดยกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุดพบว่า ในคาบ ๒๘ ปี (พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๔๘) หลายเขตในกรุงเทพมหานคร มีการทรุดตัวสะสมของแผ่นดินมากกว่า ๑๐๐ เซนติเมตร (กรมแผนที่ทหาร, ๒๕๔๘, www.ku.ac.th ) ปรากฏการณ์ดังกล่าวท� ำให้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะซึ่งนอกจาก จะท� ำให้น�้ ำท่วมขังได้ง่ายแล้ว การระบายน�้ ำออกเพื่อเป็นการแก้ปัญหาน�้ ำท่วมก็ท� ำได้ล� ำบากเช่นกัน บทวิเคราะห์มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ในมุมมองของนักภูมิศาสตร์ ความสูญเสียในชีวิตและความเสียหายในทรัพย์สินของประชาชนจากการเกิดภัยพิบัติน�้ ำท่วมเมื่อ ปี ๒๕๕๔ ซึ่งถูกจัดว่าเป็นหายนะที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบกว่า ๕๐ ปีที่ผ่านมา ได้ท� ำให้เกิดผลลัพธ์ ที่ตามมาอย่างหนึ่งคือ คนไทยส่วนใหญ่ได้ถ่ายเทความสนใจจากเรื่องอื่นใดทั้งหมดและหันมาให้ความสนใจ แก่วิกฤติน�้ ำท่วม บุคคลหลากหลายวงการและหลากหลายภูมิหลังต่างวิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์ถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหลากหลายมุมมอง มีทั้งที่มีความคิดความเห็นสอดคล้องกัน และที่มีความคิดความ เห็นขัดแย้งกัน ส� ำหรับผู้เขียนบทความนี้ซึ่งมีภูมิหลังเป็นนักภูมิศาสตร์ก็มิได้มีความแตกต่างไปจากคน อื่น ๆ ที่มีความคิดความเห็นจากการวิเคราะห์สภาพการณ์น�้ ำท่วมครั้งนี้บนพื้นฐานความรู้ของตัวเอง ความ คิดและความเห็นที่จะน� ำเสนอต่อไปนี้อาจมีความแตกต่างไปจากความคิดของคนทั่วไป นั่นเป็นเอกสิทธิ์ที่ ผู้อ่านจักได้พินิจพิเคราะห์ว่ามีความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงไร บทวิเคราะห์มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ในที่นี้ขอแยกออกเป็น ๓ ส่วนตามมิติด้านเวลาของเหตุการณ์ กล่าวคือ ก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างเกิดภัยพิบัติ และหลังเกิดภัยพิบัติ ก่อนเกิดภัยพิบัติ ๑) ความผิดพลาดในการบริหารจัดการน�้ ำจนน� ำไปสู่การเกิดมหาอุทกภัยครั้งนี้ จะโทษว่าเป็น ความผิดพลาดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกรมชลประทานคงไม่ถูกต้องนัก ทั้ง ๒ หน่วยงานที่กล่าวถึงได้พยายามท� ำหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด ในการบริหารจัดการน�้ ำ ถ้าจะมีความผิดพลาดก็อยู่ตรงที่ว่า ๒ หน่วยงานดังกล่าวกับอีกหนึ่งหน่วยงานที่ มีหน้าที่ให้ข้อมูล คือ กรมอุตุนิยมวิทยา ไม่สามารถล่วงรู้ได้อย่างถูกต้องแม่นย� ำเป็นการล่วงหน้าว่าจะมีพายุ หมุนจ� ำนวนกี่ลูกที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย และแต่ละลูกจะสร้างผลกระทบมากน้อยเพียงไรในส่วนของ ปริมาณน�้ ำฝน ความไม่แน่ชัดนี้เองที่ท� ำให้ทั้ง กฟผ. และกรมชลประทานต้องหยุดการพร่องน�้ ำและต้องกัก เก็บน�้ ำเอาไว้เหนือเขื่อนเพื่อประกันว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าและต่อการเพาะปลูกของ เกษตรกรในฤดูแล้ง ต่อมาเมื่อมีพายุใหญ่หลายลูกเคลื่อนตัวและน� ำเอาความชื้นเข้ามาตกเป็นฝนปริมาณ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=