สำนักราชบัณฑิตยสภา
197 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ เหมาะสมส� ำหรับการสร้างที่อยู่อาศัยไปใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม หรือในทางกลับกัน เหตุการณ์ น�้ ำท่วมปี ๒๕๕๔ บริเวณกรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัดในภาคกลางไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเหตุปัจจัย ส� ำคัญคือการน� ำเอาพื้นที่ที่เหมาะสมส� ำหรับการปลูกข้าวไปใช้เป็นพื้นที่พัฒนาเมือง พัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นพื้นที่ส� ำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม วิเคราะห์ได้ว่าการใช้ที่ดินผิดประเภทดังกล่าวคือการท� ำลาย พื้นที่กักเก็บน�้ ำตามธรรมชาติที่ชาวนาเคยใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวด้านหนึ่ง และคือการสร้างสิ่งกีดขวางทาง ระบายน�้ ำลงสู่ทะเลอ่าวไทยอีกด้านหนึ่ง การสร้างท� ำนบหรือพนังกั้นน�้ ำเป็นอีกเหตุปัจจัยหนึ่งที่มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งท� ำให้เกิดน�้ ำท่วม ในปี ๒๕๕๔ ต้องยอมรับว่าโดยธรรมชาติหรือโดยสันดาน มนุษย์เราแต่ละคนย่อมต้องรักษาประโยชน์ของ ตัวเองเป็นล� ำดับแรกเสมอ ส� ำหรับภัยพิบัติจากน�้ ำท่วมก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ยืนยันธรรมชาติหรือสันดานดัง กล่าว น�้ ำซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวมีการไหลเวียนค่อนข้างอิสระ เมื่อถูกป้องกันไม่ให้เข้าท่วมในพื้นที่หนึ่งก็ จะไหลไปท่วมอีกพื้นที่หนึ่ง การปิดกั้นน�้ ำไม่ให้เข้าท่วมจังหวัดหนึ่งหรือชุมชนหนึ่ง น�้ ำย่อมไหลไปท่วมจังหวัด อื่นหรือชุมชนอื่น การสร้างท� ำนบเพื่อป้องกันไม่ให้น�้ ำเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งย่อมท� ำให้น�้ ำไหล บ่าไปท่วมชุมชนที่อยู่ข้างเคียง ท� ำนองคล้ายกัน การวางกระสอบทรายเพื่อป้องกันน�้ ำท่วมของชุมชนหนึ่ง กลับท� ำให้อีกชุมชนหนึ่งต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะน�้ ำไหลไปท่วมชุมชนของพวกเขา เหล่านี้ล้วนเป็น ธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องเลือกตัวเองให้ได้ประโยชน์ไว้ก่อน เหตุการณ์เช่นนี้มิได้เกิดเฉพาะในประเทศไทย เท่านั้น อีกหลายประเทศในโลกรวมทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาก็ปรากฏเช่นกัน ( Strahler and Strahler, 1997) ปัจจัยสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ และมีส่วนท� ำให้เกิดมหาอุทกภัยที่บทความนี้ขอกล่าวอ้างถึง คือ การดึงเอาน�้ ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคและอุปโภคจนส่งผลให้เกิดการทรุดตัวของแผ่นดิน ถ้าพิจารณาเฉพาะพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การทรุดตัวของแผ่นดินอาจเกิดขึ้นได้จากการ ดึงเอาน�้ ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ และการสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างอันเนื่องมาจากการขยายตัวของความ ภาพที่ ๔ การทรุดตัวของแผ่นดินสะสม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๔๘ ที่มา : กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการ ทหารสูงสุด, ๒๕๔๙
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=