สำนักราชบัณฑิตยสภา

มหาอุทกภั ยปี ๒๕๕๔ : มุมมองของนั กภูมิ ศาสตร์ 196 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 องค์ประกอบของเปลือกโลกที่เป็นภาคพื้นดินก็มีส่วนท� ำให้เกิดมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ด้วย เช่นกัน ปัจจัยหลักทางธรณีภาคหรือภาคพื้นดินที่มีส่วนท� ำให้เกิดน�้ ำท่วมมิได้อยู่ที่โครงสร้างของดิน และ/ หรือเนื้อดิน (soil structure & texture) แต่อยู่ที่ลักษณะภูมิประเทศ (topography) เป็นส� ำคัญ ภาคกลาง ของประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเรียบหรือเป็นที่ราบน�้ ำท่วมถึง (peneplain or floodplain) ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนน�้ ำพา (alluvium) โดยปรกติในช่วงมรสุมฤดูฝนก็มีน�้ ำท่วมขังอยู่แล้วทุก ปี เกษตรกรในภาคกลางได้ใช้ประโยชน์จากน�้ ำท่วมขังนี้เพื่อท� ำนาข้าวมาช้านานแล้ว อย่างไรก็ตาม ด้วย ภูมิประเทศโดยรอบภาคกลาง ๓ ด้านมีลักษณะเป็นภูเขาและที่สูงล้อมรอบ (ด้านเหนือของภาคกลางมี ทิวเขาผีปันน�้ ำ ด้านตะวันตกมีเทือกเขาถนนธงชัยเชื่อมต่ออยู่กับทิวเขาตะนาวศรี และด้านตะวันออกมี ทิวเขาเพชรบูรณ์เชื่อมต่ออยู่กับทิวเขาสันก� ำแพง) ยกเว้นเพียงด้านทิศใต้ด้านเดียวที่ติดกับทะเลอ่าวไทย เมื่อ ใดก็ตามที่เกิดความแปรปรวนของอากาศท� ำให้มีฝนตกในปริมาณมากเช่นกรณีของปี ๒๕๕๔ สภาวการณ์ น�้ ำท่วมใหญ่จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว ในทางภูมิศาสตร์ยังสามารถอธิบายเหตุปัจจัยทางธรรมชาติที่ท� ำให้ เกิดอุทกภัยได้อีกอย่างน้อย ๒ กรณี คือ ความคดเคี้ยวของล� ำน�้ ำ (meandering stream) และความตื้นเขิน ของล� ำน�้ ำ (stream deposition) ความคดเคี้ยวของล� ำน�้ ำมีผลโดยตรงต่อความคล่องตัวในการระบายน�้ ำ ยิ่ง ล� ำน�้ ำมีความคดเคี้ยวมาก การระบายน�้ ำก็ยิ่งเป็นไปได้ช้า ความตื้นเขินของล� ำน�้ ำก็ท� ำนองคล้ายกัน ยิ่งมี ความตื้นเขินมากเท่าไร ความสามารถในการรองรับน�้ ำและการไหลของน�้ ำก็ยิ่งลดลง ทั้งสองกรณีสามารถ ส่งผลให้เกิดน�้ ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ราบทั้งสองฝั่งของล� ำน�้ ำได้ (Dutch, et al., 1998 ) หากจะสรุปว่ามหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทางธรรมชาติดังที่กล่าวแล้วแต่โดย ล� ำพังคงไม่ถูกต้องนัก ความจริงยังมีเหตุปัจจัยที่มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่หลายปัจจัยที่มีส่วนท� ำให้เกิดสภาพ การณ์ดังกล่าวเช่นเดียวกัน ที่สามารถวิเคราะห์ได้คือ (๑) การตัดไม้ท� ำลายป่า (๒) การใช้ที่ดินผิดประเภท (๓) การสร้างท� ำนบหรือพนังกั้นน�้ ำ และ (๔) การดึงเอาน�้ ำใต้ดินมาใช้มากเกินไปท� ำให้แผ่นดินทรุดตัว หลายคนอาจคิดและเข้าใจว่าการตัดไม้ท� ำลายป่าไม่น่าจะมีส่วนท� ำให้เกิดน�้ ำท่วม ความจริงการ ท� ำลายป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นป่าต้นน�้ ำด้วยแล้วมีผลอย่างมากแม้จะไม่ใช่ผลทางตรงก็ตาม ป่าไม้ที่ อุดมสมบูรณ์จะท� ำหน้าที่เป็นอ่างเก็บน�้ ำธรรมชาติ (natural reservoir) ในการกักเก็บน�้ ำไว้ในราก กิ่ง ก้าน และใบ ในขณะเดียวกันป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์จะท� ำหน้าที่เป็นตัวชะลอการไหลบ่าของน�้ ำไม่ให้มีความรุนแรง มากเกินไปจนท� ำให้เกิดน�้ ำท่วมฉับพลัน และป่าที่อุดมสมบูรณ์เช่นกันยังเป็นตัวช่วยไม่ให้เกิดการกัดเซาะ และการกร่อนของดิน (soil erosion) ซึ่งจะน� ำไปสู่การตื้นเขินของล� ำน�้ ำ การใช้ที่ดินผิดประเภทคืออีกเหตุปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการกระท� ำของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิด น�้ ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้ ค� ำว่า “การใช้ที่ดินผิดประเภท” สามารถเข้าใจได้โดยง่ายว่าหมายถึงการน� ำพื้นที่ที่ มีความเหมาะสมส� ำหรับกิจกรรมอย่างหนึ่งไปใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมอีกอย่างหนึ่ง เช่น การน� ำพื้นที่ที่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=