สำนักราชบัณฑิตยสภา
195 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ภาพที่ ๓ แสดงให้เห็นปริมาณน�้ ำฝนและปริมาณการระเหยของน�้ ำโดยเฉลี่ยในคาบ ๓๐ ปี (ซ้าย มือ) และในปี ๒๕๕๔ (ขวามือ) ของ ๗ จังหวัดในภาคเหนือซึ่งเป็นพื้นที่รับน�้ ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อน สิริกิติ์ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ล� ำพูน ล� ำปาง แพร่ น่าน ตาก และอุตรดิตถ์ ในภาพซ้ายมือแสดงให้ เห็นค่อนข้างชัดเจนว่า ปริมาณน�้ ำฝนมีมากตามปรกติในช่วงฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม) เมื่อเทียบ ปริมาณน�้ ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีกับปริมาณการระเหยของน�้ ำ พบว่ามีปริมาณน�้ ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่าปริมาณ การระเหยของน�้ ำ สภาพเช่นนี้มีโอกาสที่จะท� ำให้เกิดภัยจากความแห้งแล้งมากกว่าการเกิดอุทกภัย กรณี ของภาพขวามือ แสดงให้เห็นปริมาณน�้ ำฝนเฉลี่ยของปี ๒๕๕๔ ซึ่งมีความแตกต่างจากค่าเฉลี่ยในคาบ ๓๐ ปีอย่างชัดเจน ปี ๒๕๕๔ นอกจากจะมีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนมีนาคมเรื่อยไปจนถึงเดือนตุลาคมแล้ว เมื่อพิจารณาน�้ ำฝนเฉลี่ย รายเดือนยังพบว่าในปี ๒๕๕๔ มีปริมาณมากกว่าค่าเฉลี่ยรายเดือนในคาบ ๓๐ ปีเช่นเดียวกัน สิ่งที่พบว่า เป็นความวิปริตในปี ๒๕๕๔ คือ ปริมาณการระเหยของน�้ ำแต่ละเดือนค่อนข้างต�่ ำส่งผลให้ปริมาณน�้ ำเหลือ หรือน�้ ำส่วนเกิน (surplus water) มีมาก และนี่คือสาเหตุหนึ่งที่ท� ำให้เกิดน�้ ำท่วมใหญ่ Month Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec RF 5.8 9.8 20.8 65.2 169.5 131.6 152.9 206.5 208.3 117.5 38.2 8.0 1134.1 mm EV 104.5 126.7 177.5 194.6 177.2 142.5 132.2 124.6 118.3 112.8 99.0 95.8 1333.0 mm หมายเหตุ : RF หมายถึง ปริมาณน�้ ำฝน EV หมายถึง ปริมาณการระเหยของน�้ ำ ที่มา : ดัดแปลงจากข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ของกรมอุตุนิยมวิทยา ภาพที่ ๓ งบน�้ ำในคาบ ๓๐ ปี (ซ้าย) และในปี ๒๕๕๔ (ขวา) ที่มา : ดัดแปลงจากข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ของกรมอุตุนิยมวิทยา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=