สำนักราชบัณฑิตยสภา
มหาอุทกภั ยปี ๒๕๕๔ : มุมมองของนั กภูมิ ศาสตร์ 194 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 และพัดมาจากทะเล ๑ แม้ที่ตั้งของประเทศไทยจะมิได้อยู่ในแนวของพายุหมุน (cyclone) ซึ่งส่วนใหญ่จะก่อ ตัวในทะเลจีนใต้ก็ตาม แต่ทุกครั้งที่มีการก่อตัวของพายุและเคลื่อนเข้าสู่ภาคพื้นทวีป ประเทศไทยมักจะได้ รับผลกระทบคือ ฝนตกหนักและเกิดน�้ ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง โดยปรกติการก่อตัวของพายุในทะเลจีนใต้และ เคลื่อนตัวเข้าสู่แผ่นดินจะเกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมของทุกปี กรณีของ ปี ๒๕๕๔ ถือว่าเป็นปีที่ค่อนข้างวิปริต กล่าวคือ มีพายุหมุนผ่านเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจนน� ำไปสู่มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ คือ ๕ พายุมัจจุราช ประกอบด้วย พายุ ไหหม่า (Haima) เมื่อวันที่ ๒๔-๒๕ มิถุนายน พายุนกเตน (Nock-ten) เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พายุไห ถาง (Haitang) เมื่อ ๒๗-๒๘ กันยายน พายุเนสาด (Nesat) เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน และสุดท้ายคือ พายุ นาลแก (Nalgae) เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม (www.dmc.tv ) ในส่วนของอุทกภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณน�้ ำฝน พบว่าในปี ๒๕๕๔ มีรูปแบบการกระจาย ตัวในรอบปีที่แตกต่างไปจากปริมาณน�้ ำฝนเฉลี่ยในคาบ ๓๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๕๓) กล่าวคือ ในปี ๒๕๕๔ มีปริมาณน�้ ำฝนโดยเฉลี่ยค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในคาบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา (ดูตารางที่ ๒ ประกอบ) ยิ่งไปกว่านี้คือ เมื่อวิเคราะห์งบน�้ ำ (water budget) โดยการเปรียบเทียบกันระหว่างปริมาณน�้ ำฝนที่ได้รับ กับการระเหยของน�้ ำ (evaporation) ๒ ยิ่งท� ำให้เห็นความวิปริตที่น� ำไปสู่วิกฤติน�้ ำท่วมใหญ่ชัดเจนยิ่งขึ้น ใน ขณะที่ค่าเฉลี่ยของปริมาณน�้ ำฝนรายปีในคาบ ๓๐ ปีมีค่าต�่ ำกว่าค่าเฉลี่ยของการระเหยของน�้ ำ แต่ปี ๒๕๕๔ เป็นปีที่มีปริมาณน�้ ำฝนเฉลี่ยโดยรวมสูงกว่าปริมาณการระเหยของน�้ ำ (ดูภาพที่ ๓ ประกอบ) ตารางที่ ๒ ปริมาณน�้ ำฝนเฉลี่ย และปริมาณการระเหยของน�้ ำเฉลี่ยในปี ๒๕๕๔ (บน) และในคาบ ๓๐ ปี (ล่าง) ๑ Depression ความเร็วของลมใกล้ศูนย์กลางระหว่าง ๓๒-๖๑ กม./ชม. Tropical storm ความเร็วของลมใกล้ศูนย์กลางระหว่าง ๖๒-๑๑๗ กม./ชม. Typhoon/Hurricane/Tornado ความเร็วของลมใกล้ศูนย์กลางระหว่าง ๑๑๘-๑๙๖ กม./ชม. Super Cyclone ความเร็วของลมใกล้ศูนย์กลางระหว่าง ๑๙๖ กม./ชม. ขึ้นไป ๒ โดยหลักวิชาการทางภูมิศาสตร์ การท� ำงบน�้ ำต้องท� ำการเปรียบเทียบกันระหว่างปริมาณน�้ ำฝนกับศักยภาพในการระเหยคายน�้ ำ (Potential Evapotranspiration: PET) กรณีของบทความนี้ไม่สามารถใช้ PET ในการเปรียบเทียบได้ด้วยสาเหตุ ๒ ประการคือ (๑) กรมอุตุนิยมวิทยา มิได้ค� ำนวณค่า PET เอาไว้ และ (๒) ในทางปฏิบัติจริง ค่า PET มีความน่าเชื่อถือได้ค่อนข้างต�่ ำเนื่องจากมีปัจจัยภายนอกหลายปัจจัย ที่อาจมีผลต่อค่าที่ค� ำนวณ เช่น พื้นที่ป่าไม้ ความเร็วของลม แสง/รังสีจากดวงอาทิตย์ Month Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec RF 5.0 15.0 99.0 158.6 258.9 191.1 273.3 269.8 316.7 139.8 15.0 3.0 1745.2 mm EV 96.6 115.9 123.0 134.4 130.0 111.7 118.4 108.7 105.7 97.4 102.6 88.6 1333.0 mm
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=