สำนักราชบัณฑิตยสภา

193 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ความเสียหายที่เป็นผลมาจากมหาอุทกภัยที่กล่าวแล้วข้างต้น ส่วนหนึ่งเป็นความสูญเสียและ ความเสียหายที่เรียกในเชิงเศรษฐศาสตร์ว่า เป็นผลกระทบที่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเลขหรือเป็นตัว เงินได้ (tangible impacts) และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเลขหรือเป็น ตัวเงินได้ (intangible impacts) ผลกระทบในประการหลังนี้แม้ในเชิงมูลค่าจะไม่สามารถประเมินเป็น ตัวเงินได้ แต่ในเชิงคุณค่าน่าจะมีมูลค่ามหาศาล ที่สามารถยกเป็นตัวอย่างการสูญเสียประเภทนี้ได้ เช่น คุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และการ สูญเสียอัตลักษณ์ของความเป็นคนไทยที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ต้องมาโกรธแค้น อาฆาตกันด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะรักษาประโยชน์เฉพาะส่วนตน เป็นต้น เหตุปัจจัยส� ำคัญที่ส่งผลให้เกิดมหาอุทกภัย ๒๕๕๔ สิ่งที่น่าประหลาดใจมากอย่างหนึ่งจากปรากฏการณ์มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ คือ คนส่วนใหญ่พูด ถึงและวิตกกังวลกับผลกระทบในรูปของความสูญเสียและความเสียหาย รวมตลอดจนความขัดแย้งระหว่าง กลุ่มระหว่างพวก มีคนจ� ำนวนไม่มากนักที่กล่าวอภิปรายถึงสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าว โดยความเป็นจริง และโดยความส� ำคัญแล้ว การได้ทราบสาเหตุอย่างถ่องแท้ของปัญหาก่อนย่อมท� ำให้การหามาตรการแก้ไข หรือลดความรุนแรงของปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีของวิกฤติอุทกภัยใหญ่ครั้งนี้ก็ไม่น่าจะมี ข้อยกเว้น น่าเสียดายที่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปค่อนข้างรวดเร็ว องค์กร/หน่วยงานที่ต้องท� ำหน้าที่รับ ผิดชอบทั้งในด้านการป้องกันแก้ไขและรักษาเยียวยาเลยมุ่งความสนใจไปที่ปลายเหตุคือ ผลที่เกิดขึ้นแล้ว มากกว่าจะให้ความส� ำคัญที่ต้นเหตุ ในมุมมองทางภูมิศาสตร์สามารถวิเคราะห์และอธิบายได้ว่า มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมามี สาเหตุมาจาก ๒ กลุ่มปัจจัย คือ ปัจจัยทางธรรมชาติ และปัจจัยที่มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้อง กรณีของปัจจัย ทางธรรมชาติ เมื่อพิจารณาในเชิงภูมิศาสตร์ไม่สามารถมองเป็นอย่างอื่นได้นอกเหนือจากองค์ประกอบทาง กายภาพที่ส� ำคัญ ๓ องค์ประกอบ คือ บรรยากาศ (atmosphere) ธรณีภาค (lithosphere) และอุทกภาค (hydrosphere) เมื่อไรก็ตามที่กล่าวถึงองค์ประกอบภาคบรรยากาศ ตามหลักวิชาการทางภูมิศาสตร์จะหมาย รวมถึงคุณลักษณ์ทางอากาศ (atmospheric attributes) เช่น อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้นหรือไอ น�้ ำในอากาศ น�้ ำฟ้า (precipitation) ลม ที่ส� ำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุทกภัย คือ (๑) น�้ ำฟ้า ซึ่ง หมายถึง น�้ ำที่ตกลงมาจากฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝน และ (๒) ลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งลมที่มีความเร็วสูง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=