สำนักราชบัณฑิตยสภา
191 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ เขื่อนส� ำคัญคือ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะมีน�้ ำฝนในปริมาณมากจากพายุที่พัดผ่านเข้ามา จากทะเลจีนใต้ กระทั่งเมื่อปริมาณน�้ ำเหนือเขื่อนทั้งสองมีมากเกินความสามารถในการกักเก็บ ท� ำให้ต้องเร่ง ระบายน�้ ำปริมาณมหาศาลออกจากเขื่อน จนเป็นเหตุให้เกิดมหาอุทกภัยดังกล่าว รัฐบาลใหม่ก็โต้แย้งกลับ ว่าเหตุการณ์น�้ ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ เป็นการวาง(ยา)แผนไว้ล่วงหน้าของรัฐบาลเก่าที่สั่งการให้เขื่อนทั้งสอง กักเก็บน�้ ำไว้มากเกินไปตั้งแต่ต้นฤดูฝน ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะมีปริมาณน�้ ำมากกว่าปรกติจากพายุ และรู้ว่ารัฐบาล ใหม่ก� ำลังจะเข้ามาบริหารประเทศในขณะนั้น อันที่จริงแล้ ว ข้อโต้แย้ งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน�้ ำครั้งนี้ยังเกิดขึ้นระหว่ าง กรุงเทพมหานครในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลความทุกข์สุขของประชาชนในกรุงเทพฯ ทั้งหมด ฝ่ายหนึ่งกับรัฐบาลที่มีหน้าที่บริหารประเทศโดยรวมอีกฝ่ายหนึ่ง ทิฐิของความต่างขั้วทางการเมืองท� ำให้ขาด ความผสมกลมกลืนในการท� ำงานเพื่อป้องกันและดูแลปัญหาน�้ ำท่วม ต่างฝ่ายต่างคิดว่าตัวเองมีหน้าที่รับผิด ชอบ ต่างฝ่ายต่างคิดว่าแนวทางปฏิบัติของตนเองถูกต้องและเหมาะสม สุดท้ายคือความไม่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันและแก้ไขความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ถูกน�้ ำท่วม ข้อขัดแย้งดังกล่าวข้างต้น ไม่สามารถสรุปได้ว่าใครเป็นฝ่ายผิดและใครเป็นฝ่ายถูก ถ้าจะกล่าว ว่าผิดทั้งสองฝ่ายก็น่าจะได้หากจะยึดเอาเหตุที่แต่ละฝ่ายกล่าวอ้าง (เพราะไม่มีใครคิดและยอมรับว่าตัวเอง ผิด) อีกด้านหนึ่ง ถ้าจะกล่าวว่าถูกทั้ง ๒ ฝ่ายก็น่าจะเป็นไปได้เช่นกันหากยึดเอาผลที่แต่ละฝ่ายถูกกล่าวหา ซึ่งล้วนเป็นผลท� ำให้เกิดมหาอุทกภัยด้วยกันทั้งคู่ ๒) การขาดข้อมูลที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ ความสับสนอลหม่านและความสูญเสียของประชาชนที่เกิดขึ้นจากมหาอุทกภัยในครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุหนึ่งมาจากการขาดข้อมูลข่าวสารเรื่องปริมาณน�้ ำ เรื่องเวลา เรื่องพื้นที่ และเรื่อง ประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ ที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ สิ่งที่ยืนยันความสับสนในประเด็นนี้คือ การ ให้ข้อมูลข่าวสารของบุคคลระดับสูง (ผู้อ� ำนวยการศูนย์ อธิบดี และรัฐมนตรี) ของหน่วยงานที่มีอยู่เดิม และ ของหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการแก้ปัญหาน�้ ำท่วมที่ไม่ตรงกันและมีความคลาด เคลื่อนอยู่บ่อยครั้ง ข่าวสารที่ว่า “น�้ ำจะไม่ท่วมบริเวณนั้น/บริเวณนี้อย่างแน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์” หรือ “ชุมชนนั้น/ชุมชนนี้ต้องรีบอพยพออกภายใน ๒๔ ชั่วโมง เพราะมวลน�้ ำปริมาณมหาศาลก� ำลังไหลทะลัก เข้ามา” หรือแม้แต่ค� ำกล่าวที่ว่า “ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง รัฐบาล เอาอยู่ เหล่านี้เป็นต้น สภาพที่ปรากฏ จริงคือเหตุการณ์ตรงกันข้ามกับที่มีการให้ข้อมูลข่าวสารเกือบทั้งสิ้น ๓) การขาดประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างหน่วยงาน การเกิดมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ถ้าจะมองในเชิงบวก อาจกล่าวได้ว่ามีผลดีที่ท� ำให้ประชาชน ทั่วไปได้รู้ว่ามีหน่วยงานใดบ้างที่มีความรับผิด และมีหน่วยงานใดบ้างที่รับชอบ ดูจะเป็นที่น่าสบายใจส� ำหรับ ชาวบ้านและชุมชนที่ประสบภัย ที่ประเทศของเรามีหลากหลายหน่วยงานที่ร่วมกันดูแลแก้ไขเมื่อภัยมา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=