สำนักราชบัณฑิตยสภา

มหาอุทกภั ยปี ๒๕๕๔ : มุมมองของนั กภูมิ ศาสตร์ 190 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ประเทศไทยเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เริ่มเกิดปรากฏการณ์น�้ ำท่วมฉับพลัน (flash flood) ขึ้นในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เนื่องจากน�้ ำฝนปริมาณ มหาศาลที่ถูกพัดพาเข้ามาโดยพายุโซนร้อนดังกล่าว สภาพการณ์ของอุทกภัยที่ดูจะยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อมีฝนที่ตกอย่างหนักในภาคเหนือตอนบนของประเทศสืบเนื่องมาจากปรากฏการณ์ลานีญา (La niña) เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม เขื่อนภูมิพลในจังหวัดตากและเขื่อนสิริกิติ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ต้องรีบระบายน�้ ำ เพื่อมิให้ปริมาณน�้ ำเหนือเขื่อนมีมากเกินศักยภาพในการรองรับของตัวเขื่อนวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ปริมาณน�้ ำที่ระบายออกจากเขื่อนทั้งสองผนวกเข้ากับปริมาณน�้ ำที่มีสะสมอยู่ก่อนแล้วจากพายุโซนร้อนนก เตนเริ่มไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่หลายจังหวัดในภาคกลาง เริ่มต้นที่จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี ต้นเดือนตุลาคม ปริมาณน�้ ำเหนือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีมากเกินกว่าระดับที่สามารถกักเก็บได้ ส่งผลให้เขื่อนดังกล่าวต้อง ระบายน�้ ำออกไปยังท้ายเขื่อนในปริมาณมาก มวลน�้ ำปริมาณมหาศาลที่ถูกระบายออกมา ได้ไหลเข้าท่วม และท� ำให้เกิดความเสียหายอย่างมากในหลายพื้นที่ของภาคกลาง เมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรม สถานศึกษาระดับต่าง ๆ ที่พักอาศัย และสาธารณูปโภค-สาธารณูปการถูกน�้ ำท่วมจน ไม่สามารถเปิดด� ำเนินการหรือให้บริการได้ กลางเดือนตุลาคม พื้นที่กรุงเทพมหานครตอนบนในเขตจตุจักร ดอนเมือง คลองสามวา บางเขน และลาดพร้าว เป็นต้น มีน�้ ำท่วมสูงและประชาชนจ� ำนวนมากในพื้นที่ดัง กล่าวได้รับความเดือดร้อน ความขัดแย้งที่เกี่ยวเนื่องกับมหาอุทกภัย ๒๕๕๔ ปรากฏการณ์ภัยทางธรรมชาติจากน�้ ำท่วมในครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นธรรมชาติและแก่นแท้ของ บุคคลหลายกลุ่ม กล่าวคือ มีทั้งการแสดงความพอใจและไม่พอใจของคนที่ถูกน�้ ำท่วมและน�้ ำยังไม่ท่วม เนื่องจากการวางกระสอบทรายยักษ์ (big bag) ค� ำกล่าวที่ว่า เอาอยู่ การแสดงความรับผิดชอบและไม่รับ ผิดชอบของบุคคลและ/หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลการบริหารจัดการน�้ ำ การแสดงบทบาทและภูมิรู้ของ นักวิชาการ และการช่วงชิงการได้เปรียบเสียเปรียบของกลุ่มบุคคลที่ควรกล่าวถึงมากที่สุดคือ นักการเมือง ท่ามกลางความเดือดร้อนของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย ได้เกิดข้อโต้แย้งทั้งในเชิงความคิด และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการ ที่ส� ำคัญและสามารถวิเคราะห์อธิบายได้ มีดังนี้ ๑) การบริหารจัดการน�้ ำ : ใครถูก ใครผิด? ข้อโต้แย้งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนคือ การบริหารจัดการน�้ ำ ที่ผิดพลาด ความจริงเป็นอย่างไรไม่มีการเปิดเผยให้ปรากฏเป็นหลักฐาน ที่ปรากฏกลับเป็นการโต้แย้งกัน ระหว่างรัฐบาลเก่า (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี) กับรัฐบาลใหม่ (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี) ในขณะที่รัฐบาลเก่ากล่าวหารัฐบาลใหม่บริหารน�้ ำผิดพลาดที่ไม่ท� ำการพร่องน�้ ำเหนือ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=