สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ความเสี่ยงในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เน้นเฉพาะที่เกิดจากหน่วยงาน ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ บทความนี้น� ำเสนอต้นเหตุส� ำคัญที่ท� ำให้เกิดความเสี่ยงในการพัฒนาระบบสารสนเทศของ หน่วยงานว่ามี ๕ ประการ คือ ๑. หน่วยงานผู้ว่าจ้างให้ด� ำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศ ๒. บริษัท และหน่วยงานที่เป็นซัปพลายเออร์ ๓. หน่วยงานที่รับหน้าที่พัฒนาระบบสารสนเทศ ๔. สิ่งแวดล้อม ของการพัฒนาระบบ ๕. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาและการใช้ระบบ หลังจากนั้นบทความ ได้น� ำเสนอว่าความเสี่ยงส� ำคัญที่เกิดจากหน่วยงานผู้ว่าจ้างมีอยู่ด้วยกัน ๘ ประการ คือ ๑) ความ เสี่ยงจากผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน ๒) ความเสี่ยงเกี่ยวกับผู้จัดท� ำข้อก� ำหนดความต้องการ ของระบบใหม่ ๓) ความเสี่ยงเกี่ยวกับผู้บริหารแผนกที่จะใช้ระบบ ๔) ความเสี่ยงเกี่ยวกับเนื้อหา ในสัญญา ๕) ความเสี่ยงเกี่ยวกับผู้ใช้ระบบ ๖) ความเสี่ยงเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ๗) ความเสี่ยงเกี่ยวกับผู้ใช้ระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง และ ๘) ความเสี่ยงเกี่ยวกับตัวหน่วยงานเอง ความรู้ที่ เกี่ยวกับความเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยให้หน่วยงานที่ต้องการระบบและหน่วยงานผู้พัฒนาระบบสามารถ ร่วมมือกันได้เพื่อให้การพัฒนาระบบประสบความส� ำเร็จ ค� ำส� ำคัญ : การพัฒนาซอฟต์แวร์, การจัดการความเสี่ยง, ความเสี่ยงขององค์การ บทน� ำ ปัจจุบันนี้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนล้วนจ� ำเป็นต้องใช้ระบบสารสนเทศในการปฏิบัติงาน ต่าง ๆ มากขึ้น งานเหล่านี้มีทั้งงานที่เป็นภารกิจหลักของหน่วยงาน งานสนับสนุนภารกิจหลัก งานจัดการ โครงการต่าง ๆ งานจัดการหน่วยงานตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ถึงระดับปฏิบัติการ ฯลฯ หน่วยงานมีวิธีการ ได้มาซึ่งระบบสารสนเทศเหล่านี้หลายวิธี เช่น การพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้เอง การว่าจ้างบริษัทที่ ปรึกษาให้พัฒนาระบบสารสนเทศ การจัดซื้อระบบสารสนเทศส� ำเร็จแล้วว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ปรับ ระบบให้ตรงกับที่หน่วยงานต้องการใช้ ฯลฯ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในหน่วยงานนั้นอาจมี งานที่จะต้องด� ำเนินการหลายอย่างด้วยกัน เช่น การศึกษาความต้องการในด้านการใช้ระบบสารสนเทศ การออกแบบระบบสารสนเทศ การออกแบบฮาร์ดแวร์ การออกแบบซอฟต์แวร์ การออกแบบฐานข้อมูล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=