สำนักราชบัณฑิตยสภา
189 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ มหาอุทกภัย ๒๕๕๔ : สภาพการณ์ ความขัดแย้ง และความเสียหาย สภาพการณ์ของมหาอุทกภัย ๒๕๕๔ อันที่จริงแล้ว อุบัติการณ์น�้ ำท่วมใน พ.ศ. ๒๕๕๔ มิใช่เกิดขึ้นเฉพาะในภาคกลางของประเทศโดย เฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น ก่อนเกิดภัยพิบัติน�้ ำท่วมภาคกลาง จังหวัดใน ภาคเหนือตอนล่าง เช่น พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ และอีกหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ เช่น ขอนแก่น หนองคาย นครพนม สกลนคร ได้ถูกน�้ ำท่วมอยู่ก่อนแล้ว ยิ่งไปกว่านี้ ยังมีอีกหลาย จังหวัดในภาคใต้ เช่น สงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ก็ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยด้วยเช่นกัน หลังจากน�้ ำท่วมใหญ่ในภาคกลาง อย่างไรก็ตาม ด้วยความรุนแรงและความเสียหายอย่างมหาศาลจนถูก เรียกขานว่าเป็น “มหาอุทกภัย” สาระในบทความนี้จึงจะกล่าวอภิปรายเป็นการเฉพาะกรณีของน�้ ำท่วม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สิ่งบ่งชี้ว่าสถานการณ์น�้ ำท่วมจะเกิดขึ้นในประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๕๕๔ คือ ปริมาณน�้ ำฝนที่ค่อน ข้างมากในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของมรสุมฤดูฝน (southwest monsoon) ความ ชัดเจนว่าจะเกิดภัยพิบัติน�้ ำท่วมยังไม่เด่นชัดจนกระทั่งพายุโซนร้อนนกเตน (Nock-ten) ได้เคลื่อนตัว จากทะเลจีนใต้เข้าสู่ชายฝั่งตอนบนของประเทศเวียดนาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของ (๑) (๒) ภาพที่ ๑ ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานีก่อนน�้ ำท่วมเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ (๑) และภายหลังน�้ ำท่วมเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ (๒) ที่มา : www.wikipedia.com
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=