สำนักราชบัณฑิตยสภา

187 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ประเทศญี่ปุ่นประสบภัยจากคลื่นสึนามิ (tsunami) ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ประสบกับ ภัยจากภูเขาไฟระเบิดและวาตภัยตามล� ำดับ เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ เมื่อปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมิได้มีความน้อยหน้าประเทศอื่นใดในโลก เมื่อพิจารณาในประเด็นของภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ (natural hazards) แม้ที่ตั้งของประเทศไทยจะไม่ได้อยู่ในเขตรอยเลื่อนใหญ่ของแผ่นเปลือกโลก (plate tectonic) แต่ก็มีท� ำเลที่อยู่ไม่ไกลนักจากแนวรอยเลื่อนในมหาสมุทรอินเดีย ด้วยเหตุนี้ ภัยพิบัติจาก แผ่นดินไหวจึงเกิดขึ้นอยู่เนือง ๆ แม้จะไม่มีผลกระทบอย่างรุนแรงก็ตาม กรณีของการเกิดภัยพิบัติจากความ แห้งแล้งและน�้ ำท่วมดูจะเป็นเรื่องปรกติและธรรมดาส� ำหรับประเทศไทย ทั้งนี้เพราะที่ตั้งของประเทศอยู่ ในเขตอากาศแบบมรสุมและมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นทั้งภูเขา ที่สูง ที่ราบน�้ ำท่วมถึง และบริเวณที่เป็น ชายฝั่งทะเล ท� ำนองคล้ายกันต� ำแหน่งของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้จะไม่ ได้เป็นเส้นทางผ่านโดยตรงของพายุหมุนที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้เหมือนประเทศฟิลิปปินส์และเวียดนาม แต่ เราก็ได้รับอิทธิพลจากพายุอยู่เป็นประจ� ำทุกปี บางปีก็ได้รับผลกระทบแบบเบาบาง ในขณะที่บางปีก็ได้รับ อิทธิพลอย่างรุนแรง สถิติภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ได้เก็บรวบรวมไว้โดยศูนย์วิจัยการแพร่กระจายของภัยพิบัติ (Center for Research on the Epidemiology of Disasters: CRED) ซึ่งมีส� ำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเบลเยียมได้ แจกแจงให้เห็นถึงการกระจายตัวของภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๕๔ (ค.ศ. ๑๙๘๓-๒๐๑๑) สถิติตัวเลขดังปรากฏในตารางที่ ๑ แสดงให้เห็นว่ามีภัยพิบัติหลากหลายประเภท ภัยแล้ง ๘ - ๒๙,๙๘๒๖๐๒ ๔๒๔,๓๐๐ แผ่นดินไหว ๒ ๑ ๑๖ - คลื่นสึนามิ (Tsunami) ๑ ๘,๓๔๕ ๖๗,๐๐๗ ๑,๐๐๐,๐๐๐ อุทกภัย ๕๙ ๓,๓๗๘ ๓๔,๒๘๐,๕๘๑ ๔๓,๙๙๘,๗๐๘ พายุ ๒๘ ๘๔๐ ๓,๙๑๒,๕๐๓ ๘๗๙,๐๓๙ โรคระบาด ๕ ๑๑๔ ๒,๘๔๕ - ตารางที่ ๑ สถิติที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๕๔ ประเภทภัยพิบัติ จ� ำนวนครั้ง จ� ำนวนผู้เสียชีวิต จ� ำนวนผู้ได้รับ ค่าความเสียหาย (ศพ) ผลกระทบ (คน) (x ๑,๐๐๐ US$) ที่มา : www.emdat.be

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=