สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ : มุมมองของนักภูมิศาสตร์ * มนัส สุวรรณ ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ถูกจัดว่าเป็นภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงและสร้างความเสียหาย มากที่สุดในรอบกว่า ๕๐ ปีที่ผ่านมา ความเสียหายดังกล่าวมิได้จ� ำกัดอยู่ที่ภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็น ภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศเท่านั้น แต่ได้ครอบคลุมไปถึงภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน หลายคนอาจคิดและเข้าใจว่าสาเหตุส� ำคัญของวิกฤติการณ์และความเสียหายครั้งนี้คือพายุหมุนนก เตน (Nock-ten) ความจริงยังมีอีกหลายสาเหตุที่วิเคราะห์ได้ว่าน่าจะมีส่วนสร้างผลกระทบด้วย เช่นกัน บทความนี้เป็นบทวิเคราะห์ในมุมมองของนักภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมหาอุทกภัย บริบทของสถานการณ์น�้ ำท่วมใหญ่ประกอบด้วยสภาพการณ์ ความขัดแย้ง และความเสียหายจะถูก น� ำเสนอในส่วนแรก จากนั้นเหตุปัจจัยที่ท� ำให้เกิดมหาอุทกภัย บทวิเคราะห์ รวมทั้งข้อเสนอแนะใน การที่จะแก้ไขและบรรเทาปัญหาจะถูกน� ำเสนอต่อไปตามล� ำดับ ค� ำส� ำคัญ : มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔, เหตุปัจจัย, ผลกระทบ, การแก้ไขและบรรเทา * บรรยายในการประชุมส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันพุธที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ความน� ำ สภาพการณ์และสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันมีวิกฤติการณ์หลาย ๆ อย่างที่ท� ำให้ประชาชนใน ทุกประเทศต้องวิตกกังวล นอกเหนือจากวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่ยังคงมีความขัดแย้งระหว่างประเทศ ปรากฏอยู่ และภาวะถดถอย รวมทั้งความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกแล้ว ที่มีความ ส� ำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ถ้าไม่นับรวมการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของ โลก ( global climatic changes ) ซึ่งทุกชาติทุกภาษาต่างประสบกันอยู่โดยถ้วนหน้าแล้ว ข่าวสารข้อมูลเกี่ยว กับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ เป็นต้นว่า แผ่นดินไหว พายุถล่ม ภัยแล้ง และน�้ ำ ท่วมในหลายประเทศยังปรากฏให้ได้เห็นและได้รับทราบอยู่อย่างต่อเนื่อง ออสเตรเลียดูจะเป็นประเทศที่ ประสบกับวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเชิงของประเภทภัยพิบัติ ใน ค.ศ. ๒๐๑๑ ออสเตรเลียประสบกับอุทกภัย ไฟป่า และภัยแล้งกระจายแตกต่างกันไปตามกาละและเทศะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=