สำนักราชบัณฑิตยสภา
183 ชาย โพธิสิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ แรงงานในภาคเกษตรลดลง ทั้งนี้เนื่องจากการท� ำการเกษตรทุกวันนี้เป็นการผลิตที่ใช้ทุนสูง และมีความ เสี่ยงสูง แต่ให้ผลตอบแทนต�่ ำและไม่แน่นอน สร้างแรงกดดันให้ครัวเรือน เกษตรกรจ� ำนวนมากหันไปหา รายได้จากแหล่งอื่น เช่น ส่งสมาชิกรุ่นหนุ่มสาวไปท� ำงานในเมือง หรือท� ำอาชีพอื่น ขณะที่การเกษตรก็ยัง ด� ำเนินต่อไป บางส่วนเลิกท� ำการเกษตร เพราะท� ำไปไม่ไหวหรือเพราะสูญเสียที่ดิน ผลคือเกษตรกรรมไม่ได้ เป็นแหล่งรายได้ส� ำคัญของครัวเรือนส่วนใหญ่ในชนบท ระบบทุนนิยมเสรีท� ำให้เกิดการกระจุกตัวของการ ถือครองที่ดิน และส่งผลให้ครัวเรือนเกษตรกรจ� ำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ สูญเสียที่ดินอันเป็นปัจจัยการผลิตที่ ส� ำคัญ เกษตรกรจึงเป็นกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุดในบรรดากลุ่มอาชีพทั้งหมด ถ้าการพัฒนาในภาคชนบทด� ำเนินไปในวิถีทุนนิยมเสรีเช่นนี้ (ซึ่งมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าแนวทางนี้จะ ด� ำเนินต่อไป) อาจจะเกิดสิ่งที่ทฤษฎีวิวัฒนาการเรียกว่า “กระบวนการคัดสรร” ที่เข้มข้นขึ้นในการเกษตร ของไทย ภายใต้กระบวนการคัดสรรนี้ ครัวเรือนเกษตรกรที่อ่อนแอ มีทุนน้อย และล้าหลังในทางเทคโนโลยี อาจจะถูกเบียดขับโดยผู้ที่แข็งแรงกว่า ซึ่งอาจจะเป็นนายทุนในท้องถิ่นและบรรษัทการเกษตรทั้งใน ระดับชาติและบรรษัทข้ามชาติ ในที่สุดการเกษตรก็จะอยู่ในมือของคนส่วนน้อย เหมือนที่เป็นอยู่ในสังคม อุตสาหกรรมทั่วไป ทางเลือกอื่นมีหรือไม่ ? ทางเลือกที่จะหยุดการเป็นทุนนิยมแล้วหันกลับไปหาเกษตรแบบพอยังชีพ อย่างที่ท� ำมาในอดีตนั้นยังมองไม่เห็น วันนี้สังคมไทยเราได้ลงเรือที่ชื่อทุนนิยมเสรีและได้ “ออกทะเล” มา ไกลแล้ว การที่จะสละเรือ (ทุนนิยม) แล้วหันไปท� ำการผลิตแบบพอยังชีพและด� ำรงชีวิตอยู่โดยแทบไม่อาศัย ตลาดเหมือนในอดีตนั้นคงจะเป็นไปได้ยาก ในสภาวะเช่นนี้สิ่งที่อาจจะช่วยบรรเทาปัญหาได้มีแต่การปรับ ตัวในทางโครงสร้าง จะเรียกว่าปฏิรูปทางโครงสร้างก็ได้ นิมิตที่ดีคือ ได้เริ่มมีองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนบางส่วนเริ่มตระหนักถึงปัญหาและเสนอ ทางออกในรูปของการปฏิรูปที่ดิน และปรับตัวในการผลิต มุ่งลดความเสี่ยง ลดการพึ่งตลาด และมุ่งท� ำการ ผลิตที่ปลอดภัย ทั้งแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็มุ่งลดการท� ำลายสิ่งแวดล้อมและระบบ นิเวศด้วย วันนี้ ชนบทไทยก� ำลังประสบวิกฤตหลายอย่าง จ� ำเป็นต้องได้รับการแก้ไข แนวทางแก้ปัญหาที่ ยั่งยืนอยู่ที่การปฏิรูปในระดับโครงสร้าง การที่จะเดินไปในทางนี้ได้จ� ำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นแน่วแน่ทางการ เมือง และมีนโยบายที่มั่นคง รวมทั้งความกล้าหาญทางจริยธรรมของผู้ที่รับผิดชอบในการตัดสินใจด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=