สำนักราชบัณฑิตยสภา
ชนบทไทยในวิ ถี ทุนนิ ยม 182 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 รูปที่ ๖ ร้อยละของครัวเรือนที่เป็นหนี้ และมูลค่าเฉลี่ยของหนี้ต่อครัวเรือน พ.ศ. ๒๕๔๑, ๒๕๔๗ และ ๒๕๕๒ ๕. สรุป การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ ๑๕๐ ปี ที่ผ่านมาท� ำให้ชนบทไทยเปลี่ยนผ่าน จากการเป็นชุมชนที่ท� ำการผลิตแบบพอยังชีพเพื่อกินเพื่อใช้ในครัวเรือนเป็นหลัก ไปสู่การผลิตเพื่อตอบ สนองความต้องการของตลาดภายใต้วิถีทุนนิยม พลังที่ท� ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มจากภายนอก แล้ว ค่อย ๆ แผ่ขยายไปสู่ชนบทที่อยู่ห่างไกล วันนี้กล่าวได้ว่า ครัวเรือนในชนบทซึ่งเป็นหน่วยการผลิตขั้นพื้น ฐานทางการเกษตรได้เข้าสู่การเป็นเกษตรทุนนิยมแล้วอย่างเต็มตัว ด้วยการตอบสนองต่อตลาด ท� ำการ ผลิตไม่ใช่เพื่อการบริโภคเองเป็นส� ำคัญ แต่เพื่อขายและเพื่อก� ำไรเป็นหลัก ภายใต้แนวทางเกษตรทุนนิยมในปัจจุบัน กระบวนการผลิตมีต้นทุนสูง ใช้เทคโนโลยีมาก บรรษัท ธุรกิจการเกษตร ทั้งในประเทศและบริษัทข้ามชาติ เข้ามามีบทบาทและบางครั้งก็กลายเป็นคู่แข่งส� ำหรับผู้ ผลิตรายเล็กคือครัวเรือนเกษตรกรในชนบท โดยนัยนี้ เกษตรทุนนิยมในชนบทจึงเชื่อมโยงกับทุนนิยมเสรี ในระดับสากล ขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระดับสากลนั้นด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการผลิตในชนบทนี้ บวกกับกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศที่มุ่งเน้นภาคอุตสาหกรรมในช่วงเวลาประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมา มีส่วนท� ำให้ครัวเรือนเกษตรกรและ ที่มา ประมวลจากข้อมูลการส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. ๒๕๔๑, ๒๕๔๗ และ ๒๕๕๒
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=