สำนักราชบัณฑิตยสภา

181 ชาย โพธิสิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ๔.๔ ความยากจนและหนี้สิน เกือบจะกล่าวได้ว่า ความยากจนเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของเกษตรกร มีเหตุผลหลายอย่าง เบื้องหลังความยากจนนี้ เหตุผลเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องของความไม่อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ อีก ทั้งไม่ใช่เพราะวัฒนธรรมของชาวชนบทที่บางคนมองว่าเป็นวัฒนธรรมแห่งความมักน้อยต้อยต�่ ำ แต่มูล เหตุส� ำคัญอยู่ที่โครงสร้างสังคมที่เหลื่อมล�้ ำ ที่ท� ำให้ภาคการเกษตรและเกษตรกรถูกละเลยและถูกเอารัด เอาเปรียบ ใน พ.ศ. ๒๕๒๙ ประมาณร้อยละ ๕๐ ของคนไทยเป็นคนจน ในปีต่อ ๆ มาสัดส่วนคนจนลดลง อย่างต่อเนื่อง จนเหลือเพียงร้อยละ ๘.๑ ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ คนจนในชนบทลดลงจาก ร้อยละ ๕๒.๖ เหลือร้อยละ ๑๐.๔ แต่เมื่อเทียบกับในเมืองแล้วต่างกันมาก คนจนในเมืองลดลงจากร้อย ละ ๒๕.๓ เหลือร้อยละ ๓.๐ ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยรวมแล้วคนจนเกือบ ๙ ใน ๑๐ คน (ร้อยละ ๘๘.๕) อยู่ในชนบท เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอาชีพก็ยิ่งเห็นได้ชัด ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ คนจนในภาคเกษตรมีสัดส่วนสูง กว่าในอาชีพอื่น กล่าวคือ มีถึงร้อยละ ๑๕.๖ ขณะที่ในภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคแรงงานสัดส่วนที่สูงที่สุดก็ เพียงร้อยละ ๑๓ เท่านั้น (นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ, ๒๕๕๔) ความยากจนกับหนี้สินมักจะมาด้วยกัน ข้อมูลการส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ชี้ให้เห็นว่าครัวเรือนเกษตรกรที่มีหนี้สินมีสัดส่วนสูงมาก และมูลค่าเฉลี่ยของหนี้ต่อครัวเรือนก็สูง อีกทั้งยังมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตลอด ใน พ.ศ. ๒๕๔๑ ครัวเรือนเกษตรกรที่เป็นหนี้มีประมาณร้อยละ ๕๙ เพิ่มเป็นร้อย ละ ๗๙ ใน พ.ศ. ๒๕๔๗ และเป็นหนี้ประมาณร้อยละ ๗๔ ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ ขณะที่มูลค่าเฉลี่ยของหนี้ เพิ่ม จาก ๙๔,๖๔๒ เป็น ๑๐๑,๖๐๘ และ ๑๒๒,๗๐๕ บาทต่อครัวเรือนใน พ.ศ. ๒๕๔๑, ๒๕๔๗ และ ๒๕๕๒ โดยล� ำดับ (รูปที่ ๖) หนี้สินของเกษตรกรนั้นมีที่มาจากหลายทาง อาจจะเกิดจากความไม่เพียงพอของผลผลิต หรือ ความจ� ำเป็นที่ต้องใช้ทุนมากในการผลิต หรือจากการใช้จ่ายที่ไม่ระมัดระวัง แต่ที่เป็นประเด็นโต้แย้งอยู่ใน สังคมอย่างหนึ่งคือหนี้เชิงนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายประชานิยมของพรรคการเมือง แต่ไม่ว่าจะเกิดจาก อะไร ความยากจนและการถูกเอารัดเอาเปรียบก็เป็นสาเหตุส� ำคัญอย่างหนึ่งของการสูญเสียที่ดิน ซึ่งเป็น ปัจจัยการผลิตที่ส� ำคัญ เมื่อไม่มีที่ดิน เกษตรกรก็กลายเป็นชาวนาเช่า และในที่สุดจ� ำนวนมากก็จะกลาย เป็นแรงงานรับจ้าง นี่คือกระบวนการที่ท� ำให้ชาวนากลายเป็นชนชั้นกรรมกร (proletariat)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=