สำนักราชบัณฑิตยสภา

179 ชาย โพธิสิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ รูปที่ ๕ ร้อยละของครัวเรือนในภาคการเกษตรที่มีรายได้หลักมาจากการท� ำเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๕๒ ๔.๓ ครัวเรือนเกษตรกรไร้ที่ท� ำกินมีมากขึ้น ในวิถีเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ทุกอย่างเป็นสินค้าที่สามารถซื้อขายได้โดยผ่านกลไกตลาด ที่ดินก็ เป็นสินค้าอย่างหนึ่ง และเป็นสินค้าที่ราคาแพงเพราะมีจ� ำกัดและไม่สามารถ “ผลิต” ใหม่ได้ ข้อเท็จจริงข้อ นี้บวกกับนโยบายของรัฐและกลไกการควบคุมที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ท� ำให้เกิดการกระจุกตัวของการ ถือครองที่ดิน และส่งผลให้เกษตรกรจ� ำนวนมากสูญเสียที่ดิน กลายเป็นเกษตรกรไร้ที่ท� ำกิน ซึ่งก� ำลังเป็น ปัญหาสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน จ� ำนวนที่แน่นอนของครัวเรือนเกษตรกรไร้ที่ท� ำกินทั่วประเทศมีอยู่เท่าใด ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน ทั้งนี้เพราะระบบข้อมูลในเรื่องนี้ยังไม่ดีพอ และเพราะจ� ำนวนครัวเรือนที่ท� ำการเกษตรก็เปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลาด้วย แหล่งข้อมูลที่ต่างกันจึงมักให้ตัวเลขที่ไม่ตรงกัน แต่ถึงกระนั้นก็มีสิ่งหนึ่งที่สอดคล้องลงรอย กัน นั่นคือจ� ำนวนครัวเรือนเกษตรกรไร้ที่ท� ำกิน หรือมีที่ท� ำกินไม่เพียงพอ หรือท� ำกินในที่ดินที่ไม่มีเอกสาร สิทธิ์ มีจ� ำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนเห็นว่า นี่เป็นวิกฤตชนบทอย่างหนึ่งใน ปัจจุบัน ที่น่าสนใจก็คือ วิกฤตนี้เชื่อมโยงอยู่กับวิถีการผลิตแบบทุนนิยม ข้อมูลที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของส� ำนักงานปฏิรูป (สปร.) เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ระบุ ว่า เนื่องจากมีการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินสูง ท� ำให้ครัวเรือนเกษตรกรประมาณ ๗๕๐,๐๐๐ ครัว เรือนไม่มีที่ดินท� ำกินเลย (เท่ากับร้อยละ ๑๘ ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด) และอีกประมาณ ๙๗๕,๐๐๐ ที่มา ประมวลจากข้อมูลการส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. ๒๕๒๙, ๒๕๓๕, ๒๕๔๑, ๒๕๔๗, และ ๒๕๕๒ สัดส่วนครัวเรือนเกษตรที่มีรายได้หลักจากการท� ำเกษตรกรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=