สำนักราชบัณฑิตยสภา
ชนบทไทยในวิ ถี ทุนนิ ยม 178 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ๔.๒ เกษตรกรรมไม่ใช่แหล่งรายได้หลักของครัวเรือนในชนบทอีกต่อไป การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงเวลา ๕๐ ปี ที่ผ่านมา ท� ำให้ภาคเกษตรมีความส� ำคัญน้อยลง โดย เฉพาะในช่วงเวลาประมาณ ๒๐ ปีมานี้ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมส่งออกและบริการมีความส� ำคัญมาก ขึ้น จะเห็นได้ชัดจากสัดส่วนของรายได้ภาคเกษตรในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (gross domestic product– GDP) ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งมีเพียงร้อยละ ๘.๓ เท่านั้น เทียบกับนอกภาคเกษตรซึ่งมี สัดส่วนถึงร้อยละ ๙๑.๗ แต่แม้กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าการเกษตรไม่มีความส� ำคัญอีกต่อไป การเกษตร ยังมีความส� ำคัญในฐานะเป็นภาคส่วนที่ผลิตอาหารเลี้ยงคนทั้งประเทศ และยังส่งอาหารไปเลี้ยงคนในต่าง ประเทศอีกเป็นจ� ำนวนมากด้วย แต่ก็น่าสังเกตว่า แม้เกษตรกรรมจะยังมีความส� ำคัญ ครัวเรือนเกษตรกรที่มีรายได้ส่วนใหญ่จาก การเกษตรมีแนวโน้มลดลง ดังจะเห็นได้จากข้อมูลในรูปที่ ๕ ข้อมูลนี้ให้ค� ำตอบชัดว่า ครัวเรือนที่มีรายได้ หลักจากการเกษตรนั้นมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่อง และลดลงค่อนข้างเร็วในระยะเวลาเกือบ ๒๐ ปีมานี้ เช่น ใน พ.ศ. ๒๕๒๙ มากกว่า ๓ ใน ๔ ของครัวเรือนเกษตรกร (ร้อยละ ๗๘.๖) มีรายได้หลักจากการเกษตร แต่ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ สัดส่วนนี้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ ๔๕.๗ ถ้าคิดเป็นจ� ำนวนครัวเรือน เฉพาะใน พ.ศ. ๒๕๕๒ (ซึ่งมีครัวเรือนที่ท� ำการเกษตรทั้งหมด ๘,๖๑๘,๕๒๐ ครัวเรือน) ก็จะมีเพียง ๓,๙๓๕,๒๓๗ ครัว เรือนเท่านั้นที่มีรายได้หลักจากการเกษตร อีก ๔,๖๘๓,๒๘๓ ครัวเรือน (ร้อยละ ๕๔.๓) มีรายได้ส่วนใหญ่ มาจากอาชีพอื่นนอกจากการเกษตร แม้ว่ายังคงท� ำการเกษตรอยู่ก็ตาม ข้อมูลที่กล่าวมานี้ บวกกับสัดส่วนครัวเรือนในภาคเกษตรและแรงงานในภาคเกษตรที่ลดลงดังที่ กล่าวแล้วข้างต้น ท� ำให้สรุปได้ว่า เกษตรกรรมไม่ใช่แหล่งรายได้หลักของครัวเรือนส่วนใหญ่ในชนบทอีกต่อ ไปแล้ว ถ้าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนี้ยังด� ำเนินต่อไปในอนาคต (ซึ่งก็มีเหตุผลที่น่าเชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น) ก็ เป็นไปได้ว่าสังคมไทยจะไม่ใช่สังคมเกษตรกรรมอีกต่อไป การเกษตรที่ยังอยู่ก็จะไม่ใช่เกษตรเพื่อการบริโภค ในครัวเรือนเป็นหลัก แต่จะเป็นเกษตรเชิงพาณิชย์ในวิถีทุนนิยมเหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้วมากขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=