สำนักราชบัณฑิตยสภา
177 ชาย โพธิสิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ สถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นอธิบายได้ว่า เพราะคนรุ่นหนุ่มสาวในชนบทที่เลือกท� ำอาชีพ เกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จนมีผู้กล่าวว่า คนรุ่นหนุ่มสาวในชนบททุกวันนี้ไม่มีใครอยากท� ำอาชีพ นี้กันแล้ว ส่วนใหญ่อพยพเข้าเมืองเพื่อหางานท� ำในภาคอุตสาหกรรมและบริการ หนุ่มสาวชาวชนบทที่ยัง ท� ำการเกษตรอยู่ส่วนใหญ่ก็ใช่ว่าจะเลือกอาชีพนี้โดยตั้งใจ แต่ท� ำเพราะไม่มีทางเลือกอื่นมากกว่า มีตัวเลข ชี้ให้เห็นว่า ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๕๓ สัดส่วนแรงงานวัยรุ่น (อายุ ๑๕-๒๔ ปี) ที่ท� ำการเกษตรลดลง จากประมาณร้อยละ ๓๕ เหลือร้อยละ ๑๒ และแรงงานอายุ ๒๕-๓๔ ปี ที่ท� ำการเกษตรลดลงจากร้อยละ ๒๕ เหลือร้อยละ ๑๘ ขณะที่แรงงานกลุ่มอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไปมีสัดส่วนที่ท� ำอาชีพเกษตรเพิ่มขึ้นทั้งนั้น ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก ๑๐-๒๐ ปี แรงงานในภาคเกษตรอาจจะมีแต่ผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก ข้อนี้จะเกี่ยวกับการที่เกษตรกรรมเป็นทุนนิยมด้วยหรือไม่เพียงใด เป็นเรื่องที่น่าจะศึกษา วิเคราะห์ต่อไป แต่ที่ค่อนข้างแน่ชัดคือการที่การพัฒนาเศรษฐกิจของชาติทั้งระบบเน้นอุตสาหกรรมส่ง ออกมากในช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔) เป็นต้นมา ท� ำให้โอกาสการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวขึ้น คนรุ่นใหม่จึงหันไปหาอาชีพนอกภาคเกษตรกันมาก ขึ้น ขณะที่อาชีพเกษตรกรไม่ได้พัฒนาไปเท่าที่ควร แถมยังมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนสูงกว่า จึงไม่ เป็นที่ดึงดูดส� ำหรับคนรุ่นใหม่อีกต่อไป รูปที่ ๔ อายุเฉลี่ยและร้อยละของแรงงานในภาคเกษตร พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๕๓ ที่มา ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคณะ, ๒๕๕๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=