สำนักราชบัณฑิตยสภา
ชนบทไทยในวิ ถี ทุนนิ ยม 176 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 รูปที่ ๓ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนครัวเรือนในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๕๒ ข้อสังเกตข้างต้นสอดคล้องกันกับข้อมูลจากการส� ำรวจแรงงาน ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๕๓ ของส� ำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า แรงงาน (บุคคล) ที่ท� ำงานในภาคเกษตรมีสัดส่วนลดลงมาตลอด ในช่วงประมาณ ๒ ทศวรรษที่ผ่านมานี้ โดยใน พ.ศ. ๒๕๒๘ แรงงานไทยประมาณ ๒ ใน ๓ (ร้อยละ ๖๘) ท� ำงานในภาคเกษตร แต่ได้ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเหลือราว ๒ ใน ๕ (ร้อยละ ๔๑) ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ (รูปที่ ๔) ขณะเดียวกันแรงงานในภาคเกษตรก็มีแนวโน้มเป็นคนที่มีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ จะเห็นได้ จากอายุเฉลี่ย (mean age) ของเกษตรกรในช่วงเวลาเดียวกันนี้เพิ่มขึ้นจาก ๓๒ ปี เป็น ๔๓ ปี ๕ ที่มา ประมวลจากข้อมูลการส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. ๒๕๒๙, ๒๕๓๕, ๒๕๔๑, ๒๕๔๗, และ ๒๕๕๒ ๕ ข้อมูลที่ประมวลจากการส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนให้ตัวเลขที่ต่างจากนี้ กล่าวคือ สัดส่วนแรงงานที่ประกอบการเกษตร ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ คิดเป็นร้อยละ ๓๑ ของคนในวัยแรงงานทั้งประเทศ และครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งประเทศมีอายุมากกว่า ๔๗ ปี อย่างไร ก็ตาม ถึงแม้แหล่งข้อมูลนี้จะให้ตัวเลขต่างออกไป แต่แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ สัดส่วนแรงงานใน ภาคเกษตรลดลง และแรงงานในภาคเกษตรเป็นคนที่มีอายุมากขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=