สำนักราชบัณฑิตยสภา
175 ชาย โพธิสิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ โดยสรุปคือ ตลอดเวลากว่าศตวรรษที่ผ่านมาภาคชนบทที่ท� ำการเกษตรแบบพอยังชีพมานาน ในประวัติศาสตร์ถูกดึงเข้าสู่การเป็นทุนนิยม และในการนี้ได้ท� ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมชนบทที่ ส� ำคัญ การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเห็นได้ในระดับครัวเรือน ดังข้อมูลที่จะเสนอในส่วนต่อไปนี้ ๔. ชนบทในวิถีทุนนิยม ภาพชนบทไทยที่จะเสนอต่อไปนี้เป็นภาพสะท้อนในระดับครัวเรือนของการที่ชนบทถูกดึงเข้าไป สู่การเป็นเกษตรทุนนิยม ข้อมูลที่จะเสนอต่อไปนี้จะเป็นบางมิติของครัวเรือนเกษตรกร ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของ ครัวเรือนในชนบท ค� ำถามที่พยายามจะท� ำความเข้าใจต่อไปนี้คือ ภายใต้วิถีเกษตรทุนนิยมที่เป็นมาจนถึง ปัจจุบัน ครัวเรือนเกษตรกรในชนบทของไทยมีสถานะและความเป็นอยู่อย่างไร ในการพยายามจะตอบค� ำถามข้างต้น จะอาศัยข้อมูลจากการส� ำรวจ และข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้ แล้ว เช่น การส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน และการส� ำรวจอื่นๆ ซึ่งจะระบุเป็นการเฉพาะ เมื่ออ้างอิงถึง แต่เนื่องจากข้อมูลมีจ� ำกัด ในที่นี้จึงจะเสนอได้เพียงบางด้านเท่านั้น ๔.๑ สัดส่วนครัวเรือนเกษตรกรและแรงงานในภาคเกษตรลดลง สถิติบอกว่า ในระยะเวลาประมาณ ๒๐ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นต้นมา จ� ำนวนครัวเรือนใน ประเทศไทยเพิ่มขึ้นเร็วมาก จาก ๑๑.๙ ล้านครัวเรือน เป็น ๑๙.๘ ล้าน ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ หรือเพิ่มขึ้นใน อัตราเฉลี่ยร้อยละ ๒ ต่อปี (นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ, ๒๕๕๔) ครัวเรือนเกษตรกรก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ เพิ่มในอัตราที่ช้ากว่า กล่าวคือ ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ มีประมาณ ๗.๕ ล้านครัวเรือน ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ เพิ่มเป็น ๘.๖ ๔ ล้าน (เพิ่มในอัตราเฉลี่ยร้อยละ ๐.๙ ต่อปี) ขณะเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ครัวเรือนนอกภาค เกษตรเพิ่มจากประมาณ ๕.๕ ล้าน เป็นประมาณ ๑๑ ล้าน หรือเพิ่มในอัตราเฉลี่ยร้อยละ ๕.๙ ซึ่งนับว่า เพิ่มเร็วกว่ามาก เนื่องจากจ� ำนวนครัวเรือนนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเร็วมากนี้เอง จึงท� ำให้สัดส่วนครัวเรือน ในภาคเกษตรเมื่อเปรียบเทียบแล้วต�่ ำกว่าสัดส่วนครัวเรือนนอกภาคเกษตร และสัดส่วนดังกล่าวนี้ก็มีแนว โน้มลดลงเรื่อย ๆ ดังข้อมูลในรูปที่ ๓ ซึ่งจะเห็นว่า ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ มีครัวเรือนในภาคเกษตรคิดเป็นร้อย ละ ๔๔ ของครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่ครัวเรือนนอกภาคเกษตรคิดเป็นร้อยละ ๕๖ ๔ ตัวเลขปี ๒๕๒๙ ในเรื่องนี้ไม่สมบูรณ์จึงไม่รวมไว้ในที่นี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=