สำนักราชบัณฑิตยสภา

ชนบทไทยในวิ ถี ทุนนิ ยม 174 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 มองในแง่ดี การถูกดึงเข้าสู่กระแสทุนนิยมก็อาจท� ำให้เกษตรกรในชุมชนท้องถิ่นสามารถเก็บเกี่ยว ผลประโยชน์จากการส่งอาหารไปขายให้ผู้บริโภคในหลายประเทศของโลก ๓ ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและที่ ก� ำลังพัฒนา แต่ในอีกแง่หนึ่งเกษตรกรของไทยก็ได้รับผลกระทบจากโลกภายนอกด้วย เช่น เมื่อก� ำลังซื้อใน ประเทศเหล่านั้นเปลี่ยนไป ครัวเรือนเกษตรผู้ผลิตก็ได้รับผลกระทบด้วย ดังจะเห็นได้จากเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ เงินในสหรัฐอเมริกาเมื่อไม่กี่ปีมานี้ หรือวิกฤตในยูโรโซนที่ก� ำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งท� ำให้สินค้าเกษตร ส่งออกจากประเทศไทยได้รับความกระทบกระเทือน และเมื่อการส่งออกได้รับผลกระทบ เกษตรกรราย ย่อยในชนบทก็ได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะเกษตรกรต้องพึ่งตลาดการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงถึงกันตั้งแต่ชนบทไปจนถึงระดับโลก ผลกระทบส� ำคัญทั้งในทางบวกและทางลบอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้จากการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งก� ำลังเป็นกระแสใหม่ของโลกปัจจุบัน ในแง่หนึ่ง การเปิดเสรีทางการค้าอาจท� ำให้ผลผลิตทางการเกษตร ของเกษตรกรรายย่อยสามารถส่งไปขายในต่างประเทศ (ที่ท� ำข้อตกลงการค้าเสรีกับไทย) ได้มากขึ้น เพราะ มีปัญหาด้านภาษีน้อย (หรือไม่มีเลยส� ำหรับบางอย่าง) แต่ในเวลาเดียวกันสินค้าชนิดเดียวกันหรือคล้ายกัน จากต่างประเทศที่ราคาถูกกว่าก็เข้ามาสร้างผลกระทบแก่เกษตรกรไทยได้เหมือนกัน ดังจะเห็นได้จากการ ที่กระเทียมราคาถูกกว่าจากประเทศจีนที่น� ำเข้าภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี ได้สร้างปัญหาให้เกษตรกรปลูก กระเทียมในภาคเหนือของไทย จนท� ำให้เกษตรกรจ� ำนวนมากขาดทุน อยู่ไม่ได้ หรือเลิกอาชีพไปเลยก็มีไม่ น้อย ปัจจุบันนี้ทุนนิยมข้ามชาติมีอิทธิพลมากต่อเศรษฐกิจของประเทศก� ำลังพัฒนาอย่างไทย โดย เฉพาะในรูปของการลงทุนข้ามชาติด้านการเกษตร ที่ก� ำลังเป็นประเด็นอย่างหนึ่งในปัจจุบันคือ การพยายาม เข้ามาลงทุนท� ำการผลิตทางการเกษตรของกลุ่มทุนจากต่างประเทศ เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นฐานผลิตอาหาร ส่งกลับไปเลี้ยงประชากรในประเทศของตน กระบวนการนี้เป็นการพยายามสร้างความมั่นคงทางอาหาร ของประเทศที่มั่งคั่งทางการเงิน แต่ผลิตอาหารกินเองไม่เพียงพอ เช่น บางประเทศในตะวันออกกลาง จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ประเทศเหล่านี้ใช้กลยุทธ์หลายอย่างเพื่อแทรกตัวเข้ามาท� ำการผลิตอาหารในประเทศไทย บ้างก็มาในรูปของการร่วมทุนกับคนไทย บ้างก็พยายามหาตัวแทน (นอมินี) ที่จะท� ำให้ตนได้เข้าถึงปัจจัย การผลิต (ที่ดิน) ในรูปแบบต่าง ๆ ดังที่เคยเป็นข่าวอยู่บ้างเป็นครั้งคราว ถ้ากระบวนการเช่นนี้ขยายตัวและ ท� ำกันอย่างเปิดเผยมากขึ้น เชื่อว่าครัวเรือนเกษตรกรรายเล็กรายน้อยในชนบทจ� ำนวนมากจะถูกเบียดขับ ออกจากอาชีพเกษตรกรรมที่ท� ำมาช้านาน ๓ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่อันดับที่ ๗ ของโลก อาหารบางชนิด เช่น ข้าว ไก่ กุ้ง ปลาทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ ๑ หรืออันดับต้น ๆ ของโลกติดต่อกันมาหลายปี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=