สำนักราชบัณฑิตยสภา

173 ชาย โพธิสิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ รูปธรรมของอิทธิพลธุรกิจต่อการผลิตทางการเกษตรที่ปรากฏชัดในปัจจุบันจะเห็นได้ เช่น การ ผูกขาดในด้านพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ ซึ่งก� ำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากบรรษัทยักษ์ใหญ่มีทุนและมีเทคโนโลยี มาก จึงใช้ความได้เปรียบในการพัฒนาพันธุ์ใหม่ขึ้นมา (เช่น ข้าวโพดพันธุ์ผสม) พันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมานั้นเมื่อ เกษตรกรซื้อไปปลูกแล้ว ผลผลิตที่ได้ไม่สามารถเก็บไว้ท� ำพันธุ์เพื่อปลูกเองในรุ่นต่อไปได้ เพราะธรรมชาติ ของพืชพันธุ์ผสมให้ผลดีได้เฉพาะในการปลูกรุ่นเดียวเท่านั้น ในรุ่นต่อไปจะมีปัญหาด้านผลผลิตมาก ไม่คุ้ม ทุน ดังนั้น เมื่อเกษตรกรจะปลูกใหม่ในฤดูต่อไปก็ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์อีก และไม่เพียงแต่เท่านั้น พืชหรือสัตว์ พันธุ์ผสมนั้น จะถูกสร้างขึ้นมาให้เติบโตและให้ผลงอกงามดีต่อเมื่อได้รับปุ๋ยหรืออาหารชนิดที่ผู้ผลิตก� ำหนด ซึ่งก็คือของที่เขาเป็นคนผลิตและขายอีกเช่นกัน ตกลงเกษตรกรก็ต้องซื้อปุ๋ยจากบรรษัทเหล่านี้ และต้องขึ้น อยู่กับบรรษัทการเกษตรเหล่านี้ตลอดไป รูปธรรมอีกอันหนึ่งคือสิ่งที่เรียกว่า “เกษตรพันธสัญญา” (contract farming) ซึ่งเป็นรูปแบบการ ท� ำการเกษตรเชิงธุรกิจเพื่อตลาดโดยเฉพาะ โดยมีกลุ่มทุนหรือบรรษัทการเกษตรทั้งในประเทศและต่าง ประเทศเป็นผู้ขับเคลื่อน เกษตรกรในชนบทจะถูกชักชวนให้เข้าเป็นคู่สัญญาเพื่อท� ำการผลิตพืชหรือสัตว์ ที่ตลาดมีความต้องการในปริมาณและคุณภาพที่ก� ำหนด โดยใช้ที่ดินและแรงงานที่มีอยู่ของตน ส่วนกลุ่ม ทุนจะเป็นฝ่ายสนับสนุนด้วยการให้ (ยืม) ทุน หรือให้ความรู้ทางเทคนิค และรับซื้อผลผลิตที่ได้มาตรฐานใน ราคาที่ทางบริษัทจะเป็นผู้ก� ำหนด เกษตรพันธสัญญาตามลักษณะที่กล่าวนี้ ถ้าด� ำเนินไปอย่างเป็นธรรมและ ตรงไปตรงมาก็น่าจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย (win-win) แต่เนื่องจากมีรายละเอียดและเงื่อนไขอื่น ๆ อีกมากที่เปิดโอกาสให้กลุ่มทุนการเกษตรได้เปรียบ อีกทั้งการควบคุมจากภาครัฐก็ยังไม่ดีพอ จึงท� ำให้ เกษตรกรที่ความรู้น้อยตกเป็นเบี้ยล่าง กลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบกลุ่มทุน ปัจจุบันยังไม่มีตัวเลขว่าครัวเรือน ในชนบทที่ท� ำเกษตรพันธสัญญามีอยู่เท่าไร แต่มีผู้ประมาณว่าน่าจะมีถึง ๓๐๐,๐๐๐ ครัวเรือน และก� ำลัง ขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ในจ� ำนวนนี้มีไม่น้อยที่ล้มเหลว เป็นหนี้สินถึงขั้นสูญเสียปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ของตน ๕. ผู้ผลิตในระดับท้องถิ่นเชื่อมโยงกับระดับสากล ลักษณะข้อนี้ไม่ได้มีที่มาจากการที่โลกทุกวัน นี้เป็นโลกที่ไร้พรมแดนเพียงอย่างเดียว แต่มาจากความจ� ำเป็นในตัวของทุนนิยมเองด้วย เพราะหัวใจของ ทุนนิยมนั้นคือตลาด ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนส� ำคัญ ตลาดในวิถีทุนนิยมนั้นขยายตัวไปใน ๒ ด้านหลัก ๆ ด้านหนึ่งคือวัตถุดิบและแรงงานที่จะมาป้อนให้แก่การผลิต อีกด้านหนึ่งคือผู้บริโภค (หรือลูกค้า) ซึ่งจะ เป็นผู้ซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นมา เป้าหมายการขยายตัวของทุนนิยมอยู่ที่ก� ำไร ภายใต้อุดมคติแบบทุนนิยมการ ขยายตัวใน ๒ ด้านนี้เกิดขึ้นแบบไม่มีขีดจ� ำกัด และเพราะเหตุนี้เอง จึงท� ำให้ชุมชนชนบทในระบบทุนนิยม ไม่เพียงแต่จะเชื่อมโยงกับภายนอกในปริมณฑลท้องถิ่นและประเทศเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับตลาดที่อยู่ นอกพรมแดนของประเทศด้วย ทั้งนี้โดยผ่านกลไกและกฎกติกาของโลกที่สร้างขึ้นมาเพื่อจัดการเรื่องนี้โดย เฉพาะ เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีภูมิภาคอาเซียน (AFTA) ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) องค์การการค้า โลก (WTO) รวมถึงกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งก� ำลังจะเปิดในอีก ๓ ปีข้างหน้านี้ด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=