สำนักราชบัณฑิตยสภา
ชนบทไทยในวิ ถี ทุนนิ ยม 172 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 รูปที่ ๒ ปริมาณและมูลค่าสารเคมีการเกษตรที่น� ำเข้าเพื่อใช้ในประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๕๒ ๔. ธุรกิจการเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น ปัจจุบันนี้ การผลิตอาหารและ อุตสาหกรรมอาหารเป็นที่ดึงดูดความสนใจของภาคธุรกิจมากขึ้น เพราะอาหารเป็นสินค้าที่มีอนาคต อัน เนื่องมาจากสถานการณ์อาหารของโลกเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศมหาอ� ำนาจของโลก จึงให้ความสนใจอาหารในฐานะที่เป็นทั้งความมั่นคงของสังคมและเป็นแหล่งรายได้ ทุกวันนี้อาหารจึงไม่ใช่ เป็นเพียงอาหาร แต่เป็นสินค้าที่สร้างผลก� ำไรและเป็นเครื่องมือต่อรองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศอย่าง หนึ่ง ในอดีตธุรกิจการเกษตรมักจะจ� ำกัดอยู่ที่การซื้อขายผลผลิตที่เกษตรกรผลิตออกมาแล้วเป็นหลัก (ค้าขายผลผลิตการเกษตร) แต่ในปัจจุบันนี้มีบรรษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรเกิดขึ้นมาก ข้อมูลเมื่อต้น พ.ศ. ๒๕๕๕ ปรากฏว่า ประมาณร้อยละ ๗ ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของไทยเป็นบริษัทที่ประกอบ การด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร มีเงินทุนจดทะเบียนกว่า ๓ หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อีกจ� ำนวนมาก บริษัทเหล่านี้มีแนวโน้มจะเข้าไป ควบคุมหรือผูกขาดระบบอาหารของประเทศทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน�้ ำ (คือด� ำเนินการผลิต) ไปจนถึงกลางน�้ ำ (คือการแปรรูปอาหาร) และปลายน�้ ำ (คือการจ� ำหน่าย) ธุรกิจการเกษตรของบรรษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้จึงมีผล กระทบมากต่อวิถีการผลิต และชีวิตของคนในชนบทอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ที่มา ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคณะ, ๒๕๕๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=