สำนักราชบัณฑิตยสภา
ชนบทไทยในวิ ถี ทุนนิ ยม 168 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ไม่ได้เป็นไปโดยปราศจากการต่อต้านจากชนบท นัก วิชาการบางคนสรุปว่า ขบถชาวนาที่เกิดขึ้นหลายครั้งในภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ของไทยนั้น มี สาเหตุส� ำคัญมาจากการแทรกตัวเข้าไปในชนบทของระบบทุนนิยมและอ� ำนาจรัฐ ซึ่งท� ำให้คนในชนบทรู้สึก ว่า วิถีชีวิตเดิมของตนถูกคุกคาม ขบถชาวนาที่เกิดในภาคอีสานดูเหมือนจะรุนแรงกว่าในภาคอื่น ที่รู้จักกัน ดีก็คือ ขบถผีบุญ (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๔๕) ซึ่งครอบคลุมทั่วทั้งภาค นอกจากนี้ยังมีขบถที่มีความรุนแรงน้อย กว่าและในพื้นที่ที่จ� ำกัดมากกว่าเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง “ผู้มีบุญ” ที่ปรากฏตัวขึ้นในภาคอีสานมักสัญญาว่า จะน� ำโลกแห่งสังคมนิยมบุพกาลของหมู่บ้านกลับมา ในภาคเหนือก็มีขบถพญาผาบ (พ.ศ. ๒๔๓๒) และ ขบถเงี้ยวเมืองแพร่ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ทางภาคใต้ก็มีขบถพระยาแขกเจ็ดหัวเมือง (พ.ศ. ๒๔๔๕) และขบถผู้ วิเศษ (พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๔๕๔) จริงอยู่การเกิดขบถเหล่านี้อาจจะมองว่าเป็นการลุกขึ้นต่อต้านอ� ำนาจรัฐใน ทางการเมืองโดยตรง แต่เชื้อไฟแห่งการก่อขบถก็เชื่อมโยงกับการสูญเสียวิถีชีวิตของชาวนาในชนบทอย่าง แยกไม่ออก (ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ๒๕๔๐) เจมส์ ซี. สก็อต ( James C. Scott ) เคยกล่าวไว้ว่า ขบถชาวนา มักจะเกิดขึ้นเมื่อระบบการค้าและอ� ำนาจรัฐแทรกเข้าไปในที่ที่แรงเกาะกันทางสังคมของชนชั้นชาวนามีสูง ( Scott , 1980 อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ๒๕๔๐, น. ๖๘) ๓. ชนบทไทยในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ อาจกล่าวได้ว่าชนบทไทยได้เข้าสู่ยุคทุนนิยมแล้วอย่างเต็มตัว แม้ว่าโดยเปรียบเทียบ แล้ว ระดับของความเป็นทุนนิยมอาจจะแตกต่างไปจากในสังคมที่พัฒนาแล้วบ้าง แต่โดยสาระส� ำคัญแล้ว รูปแบบการผลิตในภาคเกษตรที่มุ่งสนองความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก ซึ่งด� ำรงอยู่ในชนบท ไทยมาตลอดเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์นั้น ได้ถูกแทนที่ด้วยวิถีการผลิตภายใต้อุดมการณ์ทุนนิยม ไปแล้วโดยสิ้นเชิง แม้ว่าในวันนี้เกษตรกรรมจะยังมีบทบาทส� ำคัญต่อวิถีชีวิตชนบทอยู่พอสมควร แต่รูปแบบ ของการปฏิบัติ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิต ตลอดจนค่านิยมและวัฒนธรรมที่เชื่อมโยง อยู่กับวิถีการผลิตก็แตกต่างไปจากที่เคยมีมาแต่เดิม สภาพที่เป็นอยู่ของเกษตรทุนนิยมในชนบทไทยปัจจุบันมีลักษณะส� ำคัญที่พอสรุปได้ดังนี้ : ๑. ตลาดมีบทบาทส� ำคัญในกระบวนการผลิตและการบริโภค ทุกวันนี้ครัวเรือนเกษตรกรไม่ว่าจะ รายเล็กหรือรายใหญ่ ต่างมุ่งผลิตเพื่อขายกันเป็นหลัก ต่างกับสมัยที่การผลิตยังเป็นแบบเพื่อยังชีพ ซึ่งทุก ครัวเรือนผลิตเพื่อกินเพื่อใช้เป็นหลัก ถ้ามีส่วนเกินจึงเอาไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการอย่างอื่นที่ตัวเอง ไม่ได้ผลิต หรือเมื่อมีตลาดเกิดขึ้น ก็เอาส่วนเกินนั้นไปขายบ้าง แต่ในระบบทุนนิยมปัจจุบัน วัตถุประสงค์ ของการผลิตทางการเกษตรเกือบจะตรงกันข้าม คือทุกครัวเรือนผลิตเพื่อขายเอาเงินเป็นหลัก ไม่ได้ให้ความ ส� ำคัญกับการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ในครัวเรือนมากเหมือนที่ผ่านมา แต่มุ่งผลิตสิ่งที่ตลาดต้องการและขายได้ ราคาเป็นส� ำคัญ โดยไม่ค� ำนึงมากนักว่าสิ่งที่ผลิตนั้นจะน� ำมาใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้โดยตรงหรือไม่ เช่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=