สำนักราชบัณฑิตยสภา
167 ชาย โพธิสิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ระบบการผลิตเพื่อการค้าในชนบทซึ่งเริ่มหยั่งรากตั้งแต่ปลายสมัยรัชการที่ ๔ ค่อย ๆ ปรากฏ ชัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ เศรษฐกิจใน ชนบทค่อย ๆ ถูกดึงเข้าไปสู่การผลิตแบบทุนนิยมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่ส� ำคัญจะเห็นได้จากปริมาณ สินค้าข้าวที่ส่งออก ซึ่งเพิ่มขึ้นมาตลอด มีกิจการโรงสีเพิ่มมากขึ้นในทุกภาคของประเทศ และมีการสะสม ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน) เกิดมีเจ้าที่ดินรายใหญ่ขึ้นในท้องถิ่น พร้อมกันนั้น ครัวเรือนไร้ที่ดินท� ำกินก็เริ่มมีให้ เห็นในชนบท คาร์ล ซี. ซิมเมอร์แมน (Carle C. Zimmerman) ซึ่งท� ำการส� ำรวจเศรษฐกิจของสยามระหว่าง ค.ศ. ๑๙๓๐-๑๙๓๑ รายงานว่า ในภาคเหนือมีชาวนาที่ไม่มีที่ดินถึงร้อยละ ๒๗ ( Zimmerman , 1999) นั่น หมายความว่า มีการสะสมทุนและปัจจัยการผลิตตามแบบทุนนิยมชัดเจน การผลิตแบบพอยังชีพซึ่งเป็น ลักษณะส� ำคัญของเศรษฐกิจชนบทไทยมาแต่อดีตกาล ได้ถูกแทนที่ด้วยการผลิตเพื่อตลาดในระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยมมากขึ้น นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงในทิศทางดังกล่าวนี้ยิ่ง ชัดเจนมากขึ้น ตัวเร่งส� ำคัญอันหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนี้คือ ความต้องการอาหารจากต่างประเทศ บวก กับการขยายตัวของการคมนาคมในประเทศ สังคมชนบทจึงถูกดึงเข้าสู่วิถีทุนนิยมโดยปริยาย ชนบทไทยในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนผ่านนี้มีปรากฏการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ การขยายตัวเข้าไป ในชนบทของระบบการผลิตแบบทุนนิยม หมายถึงการเข้าไปมีบทบาทของ “อ� ำนาจ” จากภายนอกที่มี ผลกระทบต่อการผลิตและวิถีชีวิตในชุมชน อ� ำนาจที่ส� ำคัญมี ๒ อย่าง อย่างแรกคือ การค้าหรือตลาด ซึ่ง มีตัวแทนที่เป็นรูปธรรมคือพ่อค้าที่เข้าไปดูดซับเอาผลผลิตส่วนเกินผ่านการค้าขาย ท� ำให้ตลาดและเงินตรา มีความส� ำคัญในวิถีชีวิตชนบทมากขึ้น พร้อมกับลดทอนความส� ำคัญของความสัมพันธ์ทางสังคมแบบพึ่งพา อาศัยกันที่มีมาแต่เดิมลง นอกจากนี้ การมุ่งผลิตเพื่อตลาดที่เพิ่มขึ้นก็ท� ำให้มีการเข้าไปยึดกุมปัจจัยการผลิต คือที่ดิน ทั้งโดยคนในชุมชนเองและโดยคนจากภายนอก เกิดนายทุนเจ้าที่ดิน ขณะที่ครัวเรือนจ� ำนวนหนึ่ง เริ่มสูญเสียที่ดินท� ำกิน ชนชั้นในชนบทเริ่มชัดเจนขึ้น อ� ำนาจอย่างที่ ๒ คือ อ� ำนาจรัฐ ที่เข้าไปควบคุมและ จัดการสังคมชนบทมากขึ้น โดยเฉพาะการควบคุมปัจจัยการผลิต และการดูดซับผลผลิตส่วนเกินในรูปของ ภาษี ทั้งภาษีผลผลิตและภาษีที่ดิน โดยสรุปคือ การแทรกตัวเข้ามาของระบบทุนนิยมท� ำให้การผลิตในชนบทเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ ทางสังคมในการผลิต ( social relation of production ) ๑ ก็เปลี่ยนไป ๑ ความสัมพันธ์ทางสังคมในการผลิตหมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันที่ส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบการผลิตและการ แบ่งปันผลผลิต สิ่งส� ำคัญในระบบความสัมพันธ์นี้คือ (๑) รูปแบบของระบอบกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิตเช่นที่ดินเป็น ของใคร ใครเป็นผู้ครอบครองผลผลิต คนทั้งสังคม เอกชน กลุ่มคน หรือชนชั้นใดชั้นหนึ่งเท่านั้นเป็นผู้ครอบครอง (๒) ฐานะและความ สัมพันธ์ซึ่งกันและกันของคนในกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน อันเนื่องจากการครอบครองปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน เช่น เจ้าของปัจจัย การผลิตมีฐานะที่สูงกว่าคนที่เป็นแรงงานในการผลิต และ (๓) รูปแบบการแบ่งปันผลิตผลที่ก� ำหนดโดยฐานะของบุคคลในข้อ ๑ และ ข้อ ๒ ข้างต้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=