สำนักราชบัณฑิตยสภา

ชนบทไทยในวิ ถี ทุนนิ ยม 166 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 อาจกล่าวได้ว่าสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นจุดเปลี่ยนส� ำคัญ ที่ท� ำให้ทุนนิยมได้เริ่มเข้ามาหยั่งรากใน สังคมไทยชัดเจน ชาวนาในชนบทเริ่มได้รับอิทธิพลการค้าข้าว โดยเฉพาะในภาคกลาง อันเป็นศูนย์กลาง ของการผลิตข้าว ซึ่งเป็นสินค้าที่ประเทศมหาอ� ำนาจต้องการเพื่อน� ำไปเลี้ยงประชาชนในประเทศอาณานิคม ของตน ในช่วงนั้น แม้ครัวเรือนเกษตรกรจะยังผลิตเพื่อกินเพื่อใช้เป็นหลัก แต่ผลผลิตส่วนเกินก็มีมากขึ้น เพราะมีการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร โดยเฉพาะคือคูคลองส่งน�้ ำ การขนส่งที่ส� ำคัญ ก็คือการสร้างและขยายทางรถไฟไปยังภาคต่าง ๆ การค้าผลผลิตทางการเกษตรเริ่มมีบทบาทส� ำคัญ แม้กระนั้น ในภาพรวมแล้วชนบทก็ยังมีความเป็นอิสระ และยังพึ่งตัวเองได้ ความแตกต่างทาง เศรษฐกิจของครัวเรือนภายในชุมชนไม่รุนแรง ความแตกต่างที่มีอยู่โดยมากก็มักเป็นความแตกต่างระหว่าง คนที่มีมากกับคนที่มีน้อย ไม่ใช่ความแตกต่างที่เป็นความเหลื่อมล�้ ำแบบฟ้ากับดินระหว่างครัวเรือนที่รวย เหลือล้นกับครัวเรือนที่จนเหลือหลายชนิดไม่มีอะไรจะกิน การแบ่งเป็นชนชั้นในหมู่บ้านยังไม่ชัดเจน เพราะ มีคนอยู่ประเภทเดียว คือ ชาวนา และเป็นชาวนาที่ผลิตเลี้ยงตัวเองได้ ไม่มีชนชั้นกระฎุมพี ในท้องที่บาง แห่ง เช่น หัวเมืองในมณฑลทางอีสาน สภาพหมู่บ้านเช่นนี้ยังมีอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ ดังที่สมเด็จกรม พระยาด� ำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในบันทึก คราวเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดรและมณฑลอีสานใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ความตอนหนึ่งว่า : “...การกินของชาวบ้านแถวนี้ ท� ำได้เองเกือบไม่ต้องซื้อหาสิ่งใด สิ่งที่ต้องซื้อก็คือ เครื่อง เหล็ก เช่น จอบ เสียม มีด พร้า เป็นต้น และเครื่องถ้วยชาม บางทีก็ซื้อด้ายทอผ้า หรือผ้า ผืนและของอื่น ๆ ที่ชอบใจ ซึ่งพ่อค้าหาไปขาย เงินทองที่จะใช้ซื้อหาก็มีพอเพียง เพราะมี โคกระบือที่ออกลูกเหลือใช้ และมีหมูและไก่เลี้ยงไว้ด้วยเศษอาหารเหลือบริโภค ขายได้เงิน ซื้อของต้องการได้พอปรารถนา ครัวเรือนต่างเป็นอิสระแก่กัน ไม่มีใครเป็นบ่าว ไม่มีใครเป็น นายใคร ลูกบ้านอยู่ในปกครองของผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวของตน แล้วก็มีผู้ใหญ่บ้านหรือ ก� ำนันต่อขึ้นไปดู ปกครองกันง่ายดาย แต่ว่าทั้งต� ำบลนั้นจะหาเศรษฐีที่มั่งมีเงินแต่ ๒๐๐ บาทขึ้นไปไม่มีเลย คนยากจนถึงต้องเป็นบ่าวคนอื่นก็ไม่มีเลยสักคนเดียว คงอยู่กันเช่นนี้ นับด้วยร้อยปีแล้ว เพราะเหตุว่าพวกชาวบ้านท� ำไร่นาหาเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่จ� ำเป็นต้องใช้ เงิน ความรู้สึกต้องการตัวเงินไม่รุนแรง เงินก็ไม่มีอ� ำนาจเหมือนในเมืองที่ว่าเป็นศิวิไลย จึง ไม่ใคร่มีใครสะสม แต่จะว่ายากจนก็ไม่ได้ เพราะเลี้ยงตัวได้โดยผาสุกไม่อัตคัด เมื่อได้ความ ดังกล่าวมาได้อธิบายให้หมอแบรดด๊อกเข้าใจ แล้วถามว่า ประชุมชนเช่นนี้ฝรั่งจะเห็นว่ามี ความสุขหรือความทุกข์ประการใด หมอแบรดด๊อกซึ่งเป็นชาวอเมริกันตอบว่า พวกโซเชีย ลลิศต์ในเมืองฝรั่งที่วุ่นวายกันต่างๆ ก็ต้องการจะเป็นอย่างชาวบ้านนี้นั่นเอง ที่แท้สมาคม อย่างที่พวกโซเชียลลิศต์ต้องการมีอยู่ในเมืองนี้มานานนับด้วยร้อยปีพันปีแล้ว สมกับสุภาษิต ที่กล่าวว่า ไม่มีอะไรแปลกใหม่ในโลกนี้” (อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ๒๕๔๐, น. ๖๘)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=