สำนักราชบัณฑิตยสภา
165 ชาย โพธิสิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นอย่างน้อย (ดูรายละเอียดในงานของ Zimmerman, 1999, first published 1932; Ingram, 1955; สุวิทย์ ไพทยวัฒน์, ๒๕๒๑ และ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ๒๕๔๐ เป็นต้น) ลักษณะส� ำคัญของเกษตรแบบพอยังชีพคือ ครัวเรือนชาวนาในชนบทผลิตเพื่อกินเพื่อใช้เป็นหลัก ไม่ได้ผลิตเพื่อขาย ทุกครัวเรือนเป็นหน่วยการผลิตที่ด� ำรงอยู่ได้ด้วยแรงงานและปัจจัยการผลิตของตนเอง การแบ่งงานด้านการผลิตในสังคมก็ยังไม่มี หรือไม่ชัดเจน ครัวเรือนโดยมากจะผลิตทุกอย่างที่ตนเองกินและ ใช้ นอกจากอาหารแล้ว ก็ทอผ้าใช้เอง และท� ำสิ่งของเครื่องใช้ที่จ� ำเป็นในครัวเรือนเอง สิ่งใดที่เหลือก� ำลัง ของตัวเอง เช่น การสร้างบ้านเรือน หรือการเก็บเกี่ยวพืชผลจ� ำนวนมาก จึงขอแรงจากเพื่อนบ้าน ผลผลิต ส่วนเกินมีน้อย และส่วนเกินนั้นก็มักจะน� ำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการอย่างอื่นที่ตนต้องการ แจก จ่ายให้ญาติมิตรที่ขาดแคลนโดยไม่มีสิ่งตอบแทน หรือมิฉะนั้นก็บริจาคเป็นการกุศลให้แก่วัด การค้าใน ระบบตลาดยังไม่มีในชุมชน นอกจากนาน ๆ ครั้ง จะมีพ่อค้าจากภายนอกน� ำสินค้ามาแลกเปลี่ยนผลผลิต กับชาวบ้าน แต่การค้าขายเช่นนั้นมักจ� ำกัดอยู่เฉพาะในท้องที่ที่การเดินทางมีความสะดวกพอสมควร เช่น ทางแม่น�้ ำหรือทางบก โดยใช้เรือหรือเกวียนเป็นพาหนะในการเดินทาง เศรษฐกิจที่มีลักษณะเช่นนี้ ท� ำให้คนในชุมชนมีความจ� ำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่นสูง แม้ว่าครัวเรือน ส่วนใหญ่จะพึ่งตนเองได้ในด้านผลผลิต แต่การช่วยเหลือคนอื่นด้วยการแบ่งปันก็เป็นสิ่งส� ำคัญ เพราะคน อื่นในชุมชนเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นญาติหรือไม่ใช่ญาติก็ตาม เป็นเสมือนเครือข่ายที่จะท� ำให้การด� ำรงชีวิต มีความปลอดภัยและมั่นคง (safety net) เนื่องจากการขาดแคลนอาหารเพราะภัยธรรมชาติ เช่น น�้ ำท่วม และความแห้งแล้งเกิดขึ้นบ่อย ๆ คนในหมู่บ้านจึงมีความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้น นอกจากจะถ้อยทีถ้อยอาศัย กันแล้ว คนส่วนใหญ่ในชุมชนขนาดเล็กเช่นนั้นมักจะมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติด้วย การผลิตแบบพอยังชีพเช่นนี้เป็นลักษณะเด่นของชนบทไทยมาตั้งแต่ก่อนที่สังคมจะเข้าสู่การ เป็นระบบศักดินาอย่างเต็มรูปแบบ (สมสมัย ศรีศูทรพรรณ, ๒๕๑๘) ระบบการผลิตแบบนี้ด� ำรงอยู่ตลอด สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรื่อยมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ การผลิตแบบพอยังชีพก็ยังเป็นวิถี เศรษฐกิจหลักของคนส่วนใหญ่ แม้ว่าการท� ำสัญญาเบาว์ริง (พ.ศ. ๒๓๙๘) ซึ่งเป็นการเปิดประตูทางการค้า กับต่างประเทศครั้งส� ำคัญจะเป็นการเริ่มต้นของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในสังคมไทย แต่ชุมชนชนบทส่วน ใหญ่ที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลาง (เมืองหลวง) และเส้นทางคมนาคม ก็ไม่ได้รับอิทธิพลจากการค้ามากนัก ความสัมพันธ์กับศูนย์กลางอ� ำนาจในเมืองยังไม่ได้มีเปลี่ยนแปลงอะไรมากไปกว่าการถูกเก็บภาษีในรูปของ การเกณฑ์แรงงาน การส่งส่วยเป็นสิ่งของ และต่อมาก็เป็นเงิน อ� ำนาจจากภายนอกยังไม่เข้าไปจัดการกับ การผลิตและปัจจัยการผลิตในหมู่บ้านมากนัก แต่ในบางพื้นที่โดยเฉพาะในภาคกลางก็เริ่มเห็นได้ว่าชนชั้น ปกครองอันได้แก่ เจ้านาย ข้าราชการบางส่วน และพ่อค้าชาวจีน เริ่มสะสมที่ดิน หรือไม่ก็เข้าไปซื้อผลผลิต เพื่อน� ำไปขายท� ำก� ำไรจากผลผลิตส่วนเกินของชาวบ้าน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=