สำนักราชบัณฑิตยสภา
ชนบทไทยในวิ ถี ทุนนิ ยม 164 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 สังคม อย่างไรก็ตาม แนวคิดในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมบางส� ำนักอาจให้น�้ ำหนักแก่พลังของ ปัจจัยด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าด้านอื่น ๆ เช่น ส� ำนักคิดวัตถุนิยมแนวมากซ์ให้ความส� ำคัญแก่พลังของ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจว่าเป็นตัวขับเคลื่อนที่ส� ำคัญท� ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นตามมา และแนวคิดทาง รัฐศาสตร์ให้น�้ ำหนักแก่ปัจจัยทางการเมืองในฐานะเป็นพลังขับเคลื่อนส� ำคัญทางด้านนโยบาย เป็นต้น บทความนี้จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมชนบทไทย โดยจะใช้มุมมองที่ให้ความส� ำคัญ แก่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจในฐานะเป็นตัวขับเคลื่อนที่ส� ำคัญ บทความจะแสดงว่ากระบวนการที่ท� ำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิตแบบพอยังชีพ (subsistence production) ในภาคเกษตรกรรม ที่ด� ำรงอยู่คู่คน ไทยมานับร้อยปีในอดีต มาสู่การผลิตแบบทุนนิยมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ได้ท� ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างส� ำคัญในวิถีชีวิตของประชาชนในชนบท ซึ่งในบทความนี้จะเน้นการเปลี่ยนแปลงบางด้านในระดับครัว เรือนเป็นส� ำคัญ แต่ก่อนจะถึงประเด็นนั้นจะขอล� ำดับความเป็นมาในประวัติศาสตร์การผลิตทางการเกษตร ของไทย เพื่อให้เห็นภาพโดยสังเขปก่อน จากนั้นจึงจะพิจารณาความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏผ่านทางข้อมูล จากการส� ำรวจเท่าที่พอรวบรวมได้ ๒. ภาพจากอดีต สังคมไทยมีพื้นฐานดั้งเดิมเป็นสังคมเกษตรกรรม แต่ไหนแต่ไรมาคนไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน ชนบท มีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับอาชีพเกษตรกรรมคือการท� ำนาปลูกข้าวเป็นหลัก เมืองซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่ง ของสังคมนั้นไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าศูนย์กลางการปกครองที่เจ้านายและขุนนางมีอ� ำนาจจัดการในเรื่อง ที่ส� ำคัญ เช่น การปกครอง การคุ้มครองอาณาประชาราษฎร์ และโดยอาศัยอ� ำนาจนี้ เจ้านายและขุนนางก็ อ้างความชอบธรรมในการเกณฑ์ส่วยหรือเก็บภาษีในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน สิ่งของ หรือเงิน ในวิถีดังกล่าวนั้น การค้าขายและการผลิตนอกเหนือจากเกษตรกรรมมีบทบาทไม่มากต่อชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะการค้าขาย เป็นสิ่งที่คนไทยสมัยก่อนไม่นิยมและดูเหมือนจะไม่ถนัดด้วย ในอดีตอาชีพนี้จึงอยู่ใน มือของชาวต่างชาติเป็นหลัก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่นักวิชาการทั้งชาวต่างประเทศและชาวไทยรวบรวมไว้พอจะ ประมวลเป็นภาพรวมได้ว่า ถ้าย้อนเวลาขึ้นไปตั้งแต่ก่อนมีการท� ำสัญญาเบาว์ริง (พ.ศ. ๒๓๙๘ ในรัชสมัย รัชกาลที่ ๔) ระบบเศรษฐกิจในชนบทไทยซึ่งมีเกษตรกรรมเป็นหลักนั้น เป็นระบบการผลิตแบบพอยังชีพ หลังจากท� ำสัญญาเบาว์ริงแล้ว การค้าข้าวเริ่มมีความส� ำคัญมากขึ้น ท� ำให้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในการท� ำ นาปลูกข้าวบ้าง พื้นที่ปลูกข้าวเริ่มขยายตัวช้า ๆ แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในภาคกลางมากกว่า ในภาคอื่น ๆ แม้กระนั้น การท� ำเกษตรกรรมก็เป็นการท� ำเพื่อบริโภคในครัวเรือนของเกษตรกรเป็นหลัก เหลือจากนั้นเกษตรกรจึงขาย การค้าข้าวเพิ่งจะมาขยายตัวมากขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ แต่แม้ใน ตอนนั้นการผลิตทางการเกษตรโดยรวมก็ยังเป็นแบบพอยังชีพ เป็นเช่นนี้มาจนถึงช่วงเปลี่ยนแปลงการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=