สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ชนบทไทยในวิถีทุนนิยม * ชาย โพธิสิตา ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ บทความนี้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงจากวิถีการผลิตแบบพอยังชีพที่มีมายาวนาน ในประวัติศาสตร์ของไทยมาสู่ระบบการผลิตแบบทุนนิยม ได้ปรากฏชัดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ การผลิตในระบบเกษตรทุนนิยมซึ่งมีลักษณะเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยที่มีตลาด ทุน เทคโนโลยี และความเชื่อมโยงกับโลกภายนอกเป็นลักษณะส� ำคัญ บวกกับนโยบายการพัฒนา เศรษฐกิจแห่งชาติที่มุ่งเน้นภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดผลกระทบ ส� ำคัญต่อครัวเรือนเกษตรในชนบทหลายด้าน ที่เห็นได้ชัดคือ ครัวเรือนและแรงงานในภาคเกษตร ลดลง ขณะที่การเกษตรก็ไม่ได้เป็นแหล่งรายได้หลักของครัวเรือนส่วนใหญ่อีกต่อไป นอกจากนี้ ครัว เรือนเกษตรกรที่ยากจน มีหนี้สิน และไร้ที่ท� ำกินก็มีมากขึ้นด้วย บทความนี้เสนอว่า เนื่องจากการหวนกลับไปสู่วิถีการผลิตแบบพอยังชีพที่มีมาแต่ดั้งเดิม ไม่น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี จึงจ� ำเป็นต้องมีการปฏิรูปทางโครงสร้าง เพื่อให้การเกษตรยังเป็นฐานแห่ง ชีวิตที่ส� ำคัญส� ำหรับครัวเรือนชนบทได้อย่างยั่งยืนต่อไป ค� ำส� ำคัญ : ชนบทไทย, การเกษตร, วิถีการผลิตแบบพอยังชีพ, วิถีการผลิตแบบทุนนิยม, ครัวเรือน เกษตรกร * บรรยายในการประชุมส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ๑. กล่าวน� ำ มีปัจจัยหลายอย่างที่น� ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสังคม แต่ปัจจัยหลัก ๆ ก็มักจะ ได้แก่เรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง และการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย ซึ่งรวมถึงเรื่องการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมด้วย ปัจจัยเหล่านั้นต่างมีผลกระทบต่อกันและกันในลักษณะที่เมื่อเกิดการ “ขยับ” หรือ เปลี่ยนแปลงในปัจจัยหลักด้านหนึ่ง ปัจจัยด้านอื่น ๆ ก็ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปด้วย ในภาพรวมปัจจัย ทั้งหมดเป็นพลังที่เชื่อมโยงกัน ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางโครงสร้าง อันสะท้อนออกมาใน ระบบความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยต่าง ๆ ตั้งแต่ปัจเจกบุคคลไปจนถึงองค์กรที่เป็นองคาพยพต่าง ๆ ของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=