สำนักราชบัณฑิตยสภา

149 จิ นตนา ด�ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ อย่างไรก็ดี กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและเงินช่วยเหลือครอบครัวดังกล่าวได้ก่อให้เกิด ผลดีต่อผู้ใช้แรงงานมากกว่าผลเสีย นับเป็นการยกระดับและประกันคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานอย่างดี ในด้านสวัสดิการ สหภาพแรงงานได้ก่อตั้งหน่วยงานให้บริการด้านสันทนาการและวัฒนธรรม ส� ำหรับครอบครัวสมาชิกระหว่างปิดภาคเรียน เช่น สหภาพเซเฌเตได้ก่อตั้งหน่วยงานการท่องเที่ยวและการ ท� ำงาน (Tourisme et Travail) สหภาพเซแอฟเดเตก่อตั้งหน่วยงานกลางเกี่ยวกับการเข้าค่ายและกิจกรรม เยาวชน (Organisation centrale des camps et activités de jeunesse หรือ O.C.C.A.J.) สหภาพเซเฌเต ส่งสมาชิกและครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมของสมาพันธ์การกีฬาและการกรีฑาของผู้ใช้แรงงาน (Fédération sportive et gymnique du travail หรือ F.S.G.T.) ส่วนแอฟโอให้การสนับสนุนสมาชิกและครอบครัวเป็น ราย ๆ ไป สิ่งที่ผู้น� ำสหภาพพิจารณาว่าส� ำคัญที่สุด ได้แก่การศึกษาของผู้ใช้แรงงาน แฟร์น็อง แปลูตีเย (Fernand Pelloutier) อธิบายว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ใช้แรงงานมีความจ� ำเป็นเนื่องด้วยเหตุผล ๒ ประการ กล่าวคือ เป็นการให้ความรู้และเป็นการให้การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางอาชีพโดยเฉพาะ ต่อมาอาลงส์ แมแร็ง (Alphonse Merrheim) ได้ขยายแนวคิดของแปลูตีเยให้กว้างยิ่งขึ้น และกล่าวเน้น ว่าจักต้องท� ำความคิดเรื่องการศึกษาของผู้ใช้แรงงานให้เป็นความจริงขึ้นมา เขาเขียนบทความชื่อ “Contre I’impuissance. Pour I’action. (หันหน้าสู้การไร้ความสามารถ หันหน้าสู่การปฏิบัติการ)” แมแร็งกล่าว ว่าการศึกษาเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพของผู้ใช้แรงงาน จึงจ� ำเป็นต้องให้พวกเขามีความรู้ ได้รับข่าวสาร มี วิสัยทัศน์ และมีความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับโลกแห่งความเป็นจริง ( Merrheim , ๑๙๑๓) อุดมการณ์ดัง กล่าวน� ำไปสู่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยแรงงาน ( Université de Travail ) ของสหภาพเซเฌเตใน ค.ศ. ๑๙๒๓ (พ.ศ. ๒๔๖๖) นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งสถาบันศึกษาส� ำหรับผู้ใช้แรงงานเหล่านี้ซึ่งมีมูลฐานมาจาก อุดมการณ์ของสหภาพแรงงานแนวปฏิวัติ อันได้แก่ ๑. สถาบันการศึกษาของรัฐเป็นการให้การศึกษาโดยชนชั้นกลาง ถึงแม้สถาบันเหล่านี้จะรับลูก หลานของผู้ใช้แรงงานเข้าศึกษาเป็นจ� ำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่การจัดการจะเป็นไปตามแนวคิดของชนชั้น กลางซึ่งเป็นผู้บริหาร ๒. มีความเป็นไปได้ที่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานจะให้การศึกษาต่อกันเอง ๓. ในประเทศเบลเยียม สหราชอาณาจักร และเยอรมนี สหภาพแรงงานสามารถก่อตั้งสถาบัน การศึกษาในกลุ่มของผู้ใช้แรงงานเอง ดังนั้นสหภาพแรงงานในฝรั่งเศสสมควรที่จะด� ำเนินการเรื่องนี้ให้เท่า เทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน ในเรื่องสถาบันการศึกษาของผู้ใช้แรงงานนี้ เลอฟร็องได้เขียนรายงานอย่างละเอียดเกี่ยวกับการ ด� ำเนินงานในช่วงที่เขาด� ำรงต� ำแหน่งผู้อ� ำนวยการของสถาบันการศึกษาชั้นสูงส� ำหรับกรรมกร ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๓๒-๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๒)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=