สำนักราชบัณฑิตยสภา

ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรั่ งเศสจากอดี ตถึ งปัจจุบั น 148 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ๗ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๕๙ (พ.ศ. ๒๕๐๒) ตรากฤษฎีกาว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ว่างงานและ การแบ่งปันผลก� ำไรให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือจาก เงินเดือน ๑๗ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๗ (พ.ศ. ๒๕๑๐) ตรากฤษฎีกาว่าด้วยการมีส่วนแบ่งของลูกจ้าง ในผลจากการประกอบการ ๒๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๖๘ (พ.ศ. ๒๕๑๑) ตรากฎหมายอนุญาตให้มีสหภาพแรงงานภาย ในหน่วยงาน ค.ศ. ๑๙๖๙ (พ.ศ. ๒๕๑๒) ตรากฎหมายขยายการลาหยุดพักผ่อนเป็น ๔ สัปดาห์ต่อปี โดยได้รับเงินตอบแทน ค.ศ. ๑๙๘๒ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ตรากฎหมายขยายการลาหยุดพักผ่อนเป็น ๕ สัปดาห์ต่อปี โดยได้รับเงินตอบแทนและก� ำหนด เวลาท� ำงานเป็น ๓๙ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ค.ศ. ๑๙๙๘ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ตรากฎหมายก� ำหนดเวลาท� ำงานเป็น ๓๕ ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ ความส� ำเร็จที่ส� ำคัญอีกประการหนึ่งจากการต่อสู้ของสหภาพแรงงาน ได้แก่ การประกันสังคม และเงินช่วยเหลือครอบครัว แกนน� ำของสหภาพแรงงานได้อุทิศตนท� ำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง นับ ตั้งแต่การศึกษา การร่างโครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ โดยมีการประสานงานระหว่างสหภาพแรงงาน ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด กลุ่มนายจ้างจ� ำนวนหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการท� ำงานของกลุ่มสหภาพใน ประเด็นดังกล่าว ซึ่งการต่อต้านขยายไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการอาชีพทางการรักษาพยาบาลด้วย แต่อย่างไร ก็ตาม ผลที่สุดการผลักดันกฎหมายประกันสังคมและเงินช่วยเหลือครอบครัวก็ประสบผลส� ำเร็จ นับเป็น ชัยชนะอันงดงามทางรัฐสภาของสหภาพแรงงานที่ได้มาด้วยสันติวิธี กฎหมายประกันสังคมได้ผ่านสภาผู้ แทนราษฎรใน ค.ศ. ๑๙๒๔ (พ.ศ. ๒๔๖๗) ผ่านวุฒิสภาใน ค.ศ. ๑๙๒๘ (พ.ศ. ๒๔๗๑) และมีผลบังคับใช้ ใน ค.ศ. ๑๙๓๐ (พ.ศ. ๒๔๗๓) ส่วนกฎหมายเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือครอบครัวมีผลบังคับใช้เมื่อ ค.ศ. ๑๙๓๒ (พ.ศ. ๒๔๗๕) สหภาพเซเฌเตแสดงความไม่เห็นด้วยกับกฎหมายประกันสังคม ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ ๑. กฎหมายนี้ครอบคลุมไม่ถึงผู้ว่างงาน ๒. อัตราบ� ำนาญขั้นต�่ ำน้อยเกินไป ๓. การจ่ายเบี้ยประกันถือเป็นการเอาเปรียบต่อผู้ใช้แรงงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=