สำนักราชบัณฑิตยสภา
147 จิ นตนา ด�ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ในวันแรงงานสากลปี ค.ศ. ๑๙๐๖ (พ.ศ. ๒๔๔๙) เหล่าผู้ใช้แรงงานต้องเผชิญกับความหวาดกลัว ในอันที่จะเลิกงานหลังจากท� ำงานมาแล้ว ๘ ชั่วโมง นับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ผู้น� ำแรงงานได้ถูก จับกุมไปแล้วหลายคน ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๖ (พ.ศ. ๒๔๔๙) ได้มีการจับกุมตัว เลขาธิการและเหรัญญิกของสหภาพเซเฌเตโดยปล่อยข่าวต่อสาธารณชนว่าบุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรมน่า เคลือบแคลงสงสัย อย่างไรก็ตาม การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเวลาท� ำงาน ๘ ชั่วโมงต่อวันยังคงขยายวงกว้างออก ไปอย่างไม่หยุดยั้งทั้งในปารีสและตามหัวเมือง และตั้งแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ผู้ใช้แรงงานจ� ำนวน ๑๕๐,๐๐๐ คน เข้าร่วมการหยุดงาน ในเขตแม่น�้ ำแซน (Seine) คนงานโรงงานถลุงเหล็กจ� ำนวน ๕๐,๐๐๐ คน นัดหยุด งานเพื่อช่วยเพิ่มแรงกดดัน ต่อมาในวันที่ ๑๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๐๖ (พ.ศ. ๒๔๔๙) ได้มีการออกปฏิญญาแห่งอาเมียง (Charte d’Amiens) ซึ่งนับเป็นปฏิญญาของขบวนการกรรมกร เน้นการต่อสู้เพื่อสิทธิประโยชน์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง อย่างไรก็ดี การต่อสู้ใน ค.ศ. ๑๙๐๖ (พ.ศ. ๒๔๔๙) บรรลุผลเพียงครึ่งทาง กล่าว คือมีการตรากฎหมายก� ำหนดให้กรรมกรและลูกจ้างมีวันหยุดประจ� ำสัปดาห์ ส่วนกฎหมายก� ำหนดเวลา ท� ำงาน ๘ ชั่วโมงต่อวันนั้นประกาศบังคับใช้อีก ๑๓ ปีต่อมา คือในวันที่ ๒๓ เมษายน ค.ศ. ๑๙๑๙ (พ.ศ. ๒๔๖๒) ( Bodiguel, ๑๙๖๘ : ๗๕) สหภาพแรงงานได้เรียกร้องให้ออกกฎหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานต่อไปอีก ในประเด็นของการลาหยุดพักผ่อน การลดเวลาท� ำงาน การช่วยเหลือผู้ว่างงาน และสิทธิประโยชน์อันพึง ได้ของผู้ใช้แรงงาน โดยด� ำเนินการประสบผลส� ำเร็จทีละขั้นตอนดังเหตุการณ์ส� ำคัญต่อไปนี้ ค.ศ. ๑๙๒๕ (พ.ศ. ๒๔๖๘) เสนอร่างกฎหมายให้มีการจ่ายเงินตอบแทน ระหว่างการลาหยุดพักผ่อน กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๓๑ (พ.ศ. ๒๔๗๔) ร่างกฎหมายการจ่ายเงินตอบแทนระหว่างการ ลาหยุดพักผ่อนผ่านสภาผู้แทนราษฎร ๒๐ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๓๖ (พ.ศ. ๒๔๗๙) ตรากฎหมายเกี่ยวกับการก� ำหนดเวลาท� ำงาน ๔๐ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และการจ่ายเงินตอบแทน ระหว่างการลาหยุดพักผ่อน ๑๖ เมษายน ค.ศ. ๑๙๔๖ (พ.ศ. ๒๔๘๙) ตรากฎหมายเกี่ยวกับผู้แทนของกลุ่มผู้ท� ำงาน ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ (พ.ศ. ๒๔๘๙) ตรากฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเฉลี่ยผลประโยชน์ จากการประกอบการ ๒๗ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๕๖ (พ.ศ. ๒๔๙๙) ตรากฎหมายขยายการลาหยุดพักผ่อนเป็น ๓ สัปดาห์ต่อปี โดยได้รับเงินตอบแทน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=